ความคุ้มทุนในการลงทุนพลังงานทดแทนที่ได้รับการสนับสนุนระบบการลงทุนการผลิตไฟฟ้าจากรัฐ
Keywords:
ความคุ้มทุน, พลังงานทดแทน, ระบบการลงทุนผลิตไฟฟ้าจากรัฐ, ผลิตไฟฟ้าAbstract
การวิจัยเรื่อง “ความคุ้มทุนในการลงทุนพลังงานทดแทนที่ได้รับการสนับสนุนระบบการลงทุนการผลิตไฟฟ้าจากรัฐ” มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อเปรียบเทียบความคุ้มทุนในการลงทุนพลังงานทดแทนที่ได้รับการสนับสนุนระบบการลงทุนการผลิตไฟฟ้า จากรัฐ และ 2)เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการลงทุนพลังงานทดแทนที่ได้รับการสนับสนุนระบบการลงทุนการผลิตไฟฟ้าจากรัฐ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม และพลังงานชีวมวล มีความคุ้มทุนในการลงทุนพลังงานทดแทนทั้ง 3 ชนิด เนื่องจากนโยบายการรับซื้อพลังงานทดแทนที่รัฐกำหนด feed-in tariff ให้คงความน่าลงทุนในพลังงานทดแทนได้โดยไม่ส่งผลกระทบที่มีนัยสำคัญต่อภาคธุรกิจและผู้บริโภคและไม่มีข้อได้เปรียบและข้อเสียเปรียบในการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน เนื่องจากมีการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและการเงินก่อนการลงทุน แต่พบว่าการประกอบกิจการพลังงานทดแทนมีปัญหาและอุปสรรคในการลงทุนหลายประการ 1) มีปัญหาด้านต้นทุน การผลิตต่อหน่วยยังอยู่ในระดับค่อนข้างสูง 2) ปัญหาด้านข้อกฎหมาย ประกาศ กฎ ระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจพลังงานทดแทน 3) ปัญหาในขั้นตอนของการบริหารจัดการและการขอใบอนุญาตจำหน่ายไฟฟ้า 4) ปัญหาการจัดโครงสร้างองค์กรด้านพลังงานทดแทนที่มีความสลับทับซ้อนในอำนาจหน้าที่ 5) ข้อจำกัดของระบบสายจำหน่าย 6) การวิจัยและพัฒนาพลังงานทดแทนยังไม่เพียงพอ 7) ปัญหาด้านข้อกฎหมายในพื้นที่ที่ตั้งโรงไฟฟ้า 8) ปัญหาด้านการทับซ้อนการทำธุรกิจพลังงาน 9) ปัญหาด้านระบบโครงสร้างพื้นฐาน และ 10) ปัญหาการสนับสนุนด้านการเงิน ซึ่งปัญหาเหล่านี้รัฐควรเร่งดำเนินการแก้ไขเพื่อให้พลังงานทดแทนสามารถแข่งขันกับพลังงานจากฟอสซิลได้ในอนาคต The research on Cost Effectiveness in Renewable Energy Investment Supported by Government Electricity Generating Investment System has two purposes: 1) to compare cost effectiveness in renewable energy investment and 2) to study problems and barriers in renewable energy investment supported by government electricity generating investment system. This qualitative research findings were that three types of energy : solar energy, wind energy and biomass energy had cost effectiveness in renewable energy investment because the government could set the policy of purchasing and choosing the balance of feed-in-Tariff in terms of reductions of government expenditure and sustainability of renewable energy for business without having significant impacts both for business and consumers and there was no advantages and disadvantages in purchasing renewable energy when comparing cost effectiveness in renewable energy. This was because there were analyses of feasibility study and finance prior to the investment. However, there were several problems and barriers of renewable energy business 1) production cost per unit was rather in high level 2) problems of laws, notices, rules and criteria of purchasing electricity related to renewable energy business 3) problems of management and electricity licensing 4) problems of complicated structuring authority of renewable energy 5) limitations of distribution system 6) insufficiency of research development 7) problems of laws in installing power plants in the area 8) problems of overlapping energy business 9) problems of fundamental structures and 10) problems of financial support in renewable energy investment. Thus, government should take a quick action in solving such problems so that renewable energy can compete with fossil energy in the futureDownloads
Issue
Section
Articles