ผลของไซโตไคนินและซูโครสต่อการเพาะเลี้ยงกุหลาบหนู
Keywords:
กุหลาบหนู, โซโตไคนิน, น้ำตาลซูโครสAbstract
การศึกษาผลของไซโตไคนิน และซูโครสต่อการเพาะเลี้ยงกุหลาบหนูในสภาพปลอดเชื้อโดยนำชิ้นส่วนข้อ ของกุหลาบหนูมาเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร Murashige and Skoog (MS) ที่เติมสารควบคุมการเจริญเติบโตในกลุ่มไซโตไคนินคือ 6-Benzyladenine (BA) หรือ Thidiazuron (TDZ) หรือ Kinetin (KN) ความเข้มข้น 0 0.51.01.5 และ 2.0 มิลลิกรัม/ลิตร ที่อุณหภูมิ25±2 องศาเซลเซียส ให้แสงสว่างเป็นเวลา 16 ชั่วโมงต่อวัน ความเข้มแสง 1,200 ลักซ์ เป็นเวลา 4 สัปดาห์พบว่าทุกชุดการทดลองมีการสร้างยอดเกิดขึ้น 100% โดยเฉพาะอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร มีการสร้างยอดมากที่สุด โดยมีจำนวนยอดเฉลี่ย 4.50±1.93 ยอด/ชิ้นส่วน และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในขณะที่อาหารสูตร MS ที่เติม KN ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัม/ลิตร สามารถชักนำให้ยอดมีความยาวเฉลี่ยมากที่สุด 5.89±2.34 มิลลิเมตร และแตกต่างกับชุดการทดลองอื่นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติและเมื่อเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซูโครส ความเข้มข้น 30 4050 และ 60 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนข้อของกุหลาบหนูที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร MS ที่เติม TDZ ความเข้มข้น 1.5 มิลลิกรัม/ลิตร ร่วมกับซูโครสความเข้มข้น 40 กรัม/ลิตร สามารถชักนำให้เกิดยอดได้มากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเฉลี่ย 2.73-2.77 ยอด/ชิ้นส่วน แต่จะเห็นได้ว่าสูตรอาหาร MS ที่เติมซูโครสทุกความเข้มข้น สามารถชักนำให้เกิดความยาวของยอดเฉลี่ยได้ไม่แตกต่างกันทางสถิติและไม่มีการสร้างดอกเกิดขึ้น The effects ofcytokin in & sucrose on tissue culture of fairy rose (Rosachinensis Jacq.var. minima Voss.) was conducted in sterile conditions. Nodal segments were cultured on Murashige & Skoog (MS) medium supplemented with different concentrations (0, 0.5, 1.0, 1.5, 2.0 mg/L) of 6-Benzyladenine (BA), Thidiazuron (TDZ) & Kinetin (KN) at 25±2 ºC & 16 hours of light per day with light Intensity at 1,200 lux for 4 weeks. From the result, it was found that all experiment could induce shoot 100%. Specifically, MS supplemented with TDZ at a concentration of 1.5 mg/L had the highest average number of shoots was 4.50±1.93 shoots/explant & significantly different from the other treatments. While MS medium supplemented with 1.5 mg/L TDZ could induce the highest average shoot length of 5.89±2.34 mm & statistically significant differences with other groups. When nodal segment were cultured on MS medium supplemented with 1.5 mg/L TDZ & sucrose concentrations at 30, 40, 50 & 60 g/L for 6 weeks. It was shown that, nodal segments were cultured on MS supplemented with TDZ at 1.5 mg/L & sucrose concentration at 40 g/L had the highest average shoot number of 2.73-2.77 shoot/explant. However, it can be seen that MS medium supplemented with sucrose at all concentrations could induce the average shoot length without statistically significant difference & no flowering occurred.Downloads
Issue
Section
Articles