ความหลากหลายของทรอสโทไคตริดส์ที่แยกจากใบไม้ป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง

Authors

  • ทิวาพร ทองประสม
  • สุดารัตน์ สวนจิตร
  • สมถวิล จริตควร

Keywords:

ความหลากหลาย, ทรอสโทไคตริดส์, ดีเอชเอ, กรดไขมัน, ป่าชายเลน

Abstract

          ศึกษาความหลากหลาย ความถี่ของการพบ และปริมาณกรดไขมันในทรอสโทไคตริดส์ที่คัดแยกจากใบไม้ป่าชายเลน ที่ร่วงหล่นจำนวน 12 ชนิดบริเวณป่าชายเลนทุ่งโปรงทอง จังหวัดระยอง ในฤดูแล้ง และฤดูฝนพบทรอสโทไคตริดส์ ที่จำแนกได้ 3 สกุล (7 ชนิด) ได้แก่ สกุล Aurantiochytrium จำนวน 5 ชนิด (Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4 และ Aurantiochytrium sp.5) สกุล Parietichytrium จำนวน 1 ชนิด (Parietichytrium sp.) สกุล Schizochytrium จำนวน 1 ชนิด (Schizochytrium sp.2) และทรอสโทไคตริดส์ที่ไม่สามารถ จำแนกได้ 2 ชนิดคือThraustochytriidae 8 และ Thraustochytriidae 9 ความถี่ของการพบทรอสโทไคตริดส์โดยเฉลี่ยตลอด การศึกษาพบร้อยละ 2.5-52.5 โดยฤดูฝนมีความถี่ของการพบมากกว่าฤดูแล้ง เมื่อพิจารณาจากชีวมวลของทรอสโทไคตริดส์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในช่วง 15.63±3.03-22.87±0.80 กรัมต่อลิตร โดย Aurantiochytrium sp.1 มีชีวมวลเฉลี่ยสูงสุด สำหรับปริมาณกรดไขมันพบว่า Aurantiochytrium sp.1 มีปริมาณ เออาร์เอ (Arachidonic acid, 20:4 n-6, ARA) และอีพีเอ (Eicosapentaenoic acid, 20:5 n-3, EPA) เฉลี่ยสูงสุดเท่ากับ 0.43±0.20 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.1±0.04 เปอร์เซ็นต์ ของกรดไขมันทั้งหมด) และ1.67±1.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (0.35±0.20 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ ส่วน Aurantiochytrium sp.3 มีกรดไขมันดีพีเอ (Docosapentaenoic acid, 22 :5 n-6, DPA) และดีเอชเอ (Docosahexaenoic acid, 22:6 n-3, DHA) สูงสุดเท่ากับ 39.40±6.17 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (8.06±0.53 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) และ 137.23±25.61 มิลลิกรัมต่อกรัมน้ำหนักแห้ง (31.68±2.72 เปอร์เซ็นต์ของกรดไขมันทั้งหมด) ตามลำดับ สายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์ทางอุตสาหกรรมต่อไปคือ Aurantiochytrium sp.1           Diversity, frequency of occurrence and fatty acid content of thraustochytrids isolated from fallen leaves of 12 mangrove trees at Thung Prong Tong, Rayong Province were studied in the dry and rainy season. Three genera (7 species) were identified as genus Aurantiochytrium (5 species, Aurantiochytrium sp.1, Aurantiochytrium sp.2, Aurantiochytrium sp.3, Aurantiochytrium sp.4 and Aurantiochytrium sp.5), genus Parietichytrium (1 species, Parietichytrium sp.), genus Schizochytrium (1 species, Schizochytrium sp.2). Two species of unidentified thraustochytrids were Thraustochytriidae 8 and Thraustochytriidae 9. The average frequency of occurrence of thraustochytrids was 2.5-52.5%, which showed higher in the rainy season than that of dry season. The average biomass of Thraustochytrids were in a range of 15.63±3.03-22.87±0.80 g/L, which the highest found in Aurantiochytrium sp.1. For fatty acid content, Aurantiochytrium sp.1 had the highest content of Arachidonic acid (20:4 n-6, ARA) and Eicosapentaenoic acid (20:5 n-3, EPA) of 0.43±0.20 mg/g dry wt. (0.1±0.04 % of total fatty acid) and 1.67±1.17 mg/g dry wt. (0.35±0.20% of total fatty acid), respectively. While the highest amount of Docosapentaenoic acid (22:5 n-6, DPA) and Docosahexaenoic acid (22:6 n-3, DHA) were found in Aurantiochytrium sp.3 at 39.40±6.17 mg/g dry wt. (8.06±0.53% of total fatty acid) and 137.23±25.61 mg/g dry wt. (31.68±2.72% of total fatty acid), respectively. Aurantiochytrium sp.1 is the appropriate stain for further industrial uses.

Downloads