การระบุพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อการสำรวจทางการเกษตร โดยใช้เทคนิควิเคราะห์เชิงลายผิว และข้อมูลจาก ฝูงชน
Keywords:
การระบุพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน, การจำแนกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน, ข้อมูลจากกลุ่มฝูงชน, เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลายผิว, ตัวกรองกาเบอร์Abstract
งานวิจัยนี้นำเสนอวิธีการระบุพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันจากภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตโดยใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงลายผิว โดยผลลัพธ์ของการระบุหรือจำแนกพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันนำมาใช้ร่วมกับข้อมูลจากกลุ่มฝูงชนเพื่อใช้สำหรับการสำรวจทางด้านการเกษตร ผลการศึกษา พบว่า ค่าเฉลี่ยความถูกต้องอยู่ในระดับสูง โดยมีค่าเท่ากับ 94.87% 82.44% 93.90% และ 0.85 ซึ่งเป็นค่าความถูกต้องเฉลี่ย (Accuracy) ค่าความแม่นยำ (Precision) ค่าความระลึก (Recall) และค่าสถิติแคปป้า (Kappa) ตามลำดับ ส่วนโมดูลการประมวลผลถูกพัฒนาโดยใช้เว็บแอพพลิเคชัน มีการออกแบบส่วนติดต่อผู้ใช้ให้รองรับทุกอุปกรณ์ ซึ่งสนับสนุนการใช้งานในทุกอุปกรณ์ที่มีขนาดความละเอียดของจอภาพแตกต่างกัน โดยในการใช้งานอาศัยอุปกรณ์ที่สามารถใช้ระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลก สามารถตรวจสอบข้อมูลตำแหน่งพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ได้รับจากผู้ใช้ ซึ่งเป็นข้อมูลจากกลุ่มฝูงชน ทำให้สามารถเพิ่มข้อมูลพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในพื้นที่จริง ผู้ใช้สามารถอัพโหลดและดาวน์โหลดข้อมูลพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันที่ได้จากการจำแนกด้วยการวิเคราะห์เชิงลายผิวซ้อนทับกับข้อมูลที่นำเข้าโดยเกษตรกร เพื่อตรวจสอบ ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล นอกจากนี้มีการสื่อสารและเก็บข้อมูลปัจจัยที่เกี่ยวข้องหรือมีผลต่อพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันเพื่อการวิเคราะห์และจัดทำรายงานที่เกี่ยวข้องได้ ระบบที่นำเสนอในงานวิจัยนี้ทำให้เกิดประโยชน์อย่างยิ่งต่อการสำรวจทางด้านการเกษตรและการได้มาซึ่งข้อมูลพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันโดยไม่จำเป็นต้องใช้วิธีการสำรวจภาคพื้นดิน ดังนั้นระบบนี้จึงช่วยลดต้นทุนและเวลาที่ใช้ในการสำรวจ ในขณะที่การนำเสนอข้อมูลมีความน่าเชื่อถือและทันต่อเวลาในการนำไปใช้ประโยชน์ทางด้านการเกษตรหรือในด้านอื่น ๆ This paper focuses on identification of oil-palm plantation areas from Thaichote satellite imagery based on texture analysis. The resultant extraction would then be merged with crowdsource data for agricultural survey. The experiments reported herein exhibited a reasonably high averaged accuracy, precession, recall and Kappa of 94.87% 82.44% 93.90% and 0.85, respectively. The mentioned processing module was implemented on a web application with responsive user interface design, which supported a wide range of devices with various resolutions. Based on available device’s positioning system, oil-palm plantation pin points were effectively acquired from user own locations, which enabling crowdsource updates on actual plantation. The computationally extracted areas by texture analysis could be up- and downloaded and then fused with farmers’ input ones, for validation and hence information integrity. Furthermore, various attributes related to or has any effect on oil-palm plantation could also be communicated and stored for subsequent analyses and preparation of relevant reports. The proposed system therefore could greatly benefit agricultural survey and acquisition of oil-palm plantations irrespective of terrestrial and temporal accessibility. Accordingly, the system tremendously reduces cost and time required for onsite survey, while offering reliable and real-time data for various agricultural and other purposes.Downloads
Issue
Section
Articles