ฤทธิ์ทางชีวภาพของคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองและนมงาดำ

Authors

  • มนตรา ศรีษะแย้ม
  • เจนจิรา กลิ่นรัตน์
  • อรุณลักษณ์ โชตินาครินทร์

Keywords:

คีเฟอร์, กิจกรรมต้านอนุมูลอิสระ, กิจกรรมยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส, ฤทธิ์ยับยั้งแบคทีเรีย

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาฤทธิ์ของคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองและนมงาดำ ในการต่อต้านอนุมูลอิสระยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไทโรซิเนส และยับยั้งการเจริญของเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดสิว (Propionibacterium acnes DMST 14916 และ Staphylococcus aureus DMST 8013) การศึกษาฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระใช้วิธี DPPH radical scavenging การศึกษาฤทธิ์ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไทโรซิเนสใช้วิธี mushroom tyrosinase inhibition และทดสอบความสามารถในการยับยั้งแบคทีเรียด้วยวิธี agar well diffusion ผลที่ได้พบว่าฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระของคีเฟอร์เวย์จากนมงาดำที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง มีฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระสูงสุด มีค่า IC50 เท่ากับ 0.78 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ผลการยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไทโรซิเนส พบว่าคีเฟอร์เวย์จากนมธัญพืชทั้ง 2 ชนิด ยับยั้งกิจกรรมเอนไซม์ไทโรซิเนสได้ใกล้เคียงกัน โดยคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองและนมงาดำที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง มี % inhibition เท่ากับ 48.41±0.33% และ 48.99±0.19% ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบประสิทธิภาพคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองและนมงาดำในการยับยั้งแบคทีเรีย พบว่าคีเฟอร์เวย์จากนมงาดำที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง (14.67±0.58 มิลลิเมตร) สามารถยับยั้งเชื้อ P. acnes DMST 14916 ได้ดีกว่าคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง (11.50±0.00 มิลลิเมตร) อย่างมีนัยสำคัญ (p<0.05) คีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองที่ระยะเวลาหมัก 72 ชั่วโมง สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus DMST 8013 ได้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของบริเวณยับยั้ง เท่ากับ 12.00±0.00 มิลลิเมตร ที่ระดับความเข้มข้น 250 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ขณะที่คีเฟอร์เวย์จากนมงาดำไม่สามารถยับยั้งเชื้อ S. aureus DMST 8013 ได้ นอกจากนี้พบว่าคีเฟอร์เวย์ทงั้สองชนิดมีฤทธิ์ทางชีวภาพสูงขึ้นเมื่อระยะเวลาในการหมักเพิ่มขึ้น จากงานวิจัยนี้แสดงให้เห็นว่าคีเฟอร์เวย์จากนมถั่วเหลืองและคีเฟอร์เวย์จากนมงาดำสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในผลิตภัณฑ์เวชสำอางได้           The aims of this study were to determine the antioxidant and the antityrosinase activities and to evaluate the inhibition of acne-inducing bacteria (Propionibacterium acnes DMST 14916 and Staphylococcus aureus DMST 8013) of kefir whey samples produced from soy and black sesame milk samples. The antioxidant capacity was measured using DPPH radical scavenging assay. The antityrosinase activity was tested based on mushroom tyrosinase inhibition assay. The antibacterial activity was carried out by agar well diffusion method. The results demonstrated that the black sesame milk kefir whey obtained from 72 h fermentation had the highest antioxidant activity with the IC50 values of 0.78 mg/ml. The antityrosinase activities from the soy and the black sesame milk kefir whey from 72 h fermentation were displayed in the same level (48.41±0.33% and 48.99±0.19%, respectively). Evaluation of antibacterial activity demonstrated that the inhibition of P. acnes DMST 14916 by the black sesame milk kefir whey obtained from 72 h fermentation (14.67±0.58 mm) was significantly higher  (p<0.05) than that obtained from the soy milk kefir whey fermented at 72 h (11.50±0.00 mm). The soy milk kefir whey fermented at 72h was able to inhibit S. aureus DMST 8013 with inhibition zone of 12.00±0.00 mm at the concentration of 250 mg/ml while the black sesame milk kefir whey could not inhibit S. aureus DMST 8013. In addition, it was found that the biological activities of two types of kefir whey were increased with the increasing of fermentation time. Based on results of this investigation, application of soy and black sesame milk kefir whey in cosmeceuticals is possible.

Downloads