การจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ตามหลักการ ICT Ecodesign ของนักศึกษามหาวิทยาลัย
Keywords:
ผลิตภัณฑ์ไฟฟ้า, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ICT Ecodesign, นักศึกษามหาวิทยาลัยAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจการปฏิบัติตนของนักศึกษาในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ และประมาณปริมาณซากผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือกลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษามหาวิทยาลัย จำนวน 379 คน ที่เรียนในกลุ่มคณะจำแนกตามสาระการเรียนรู้ คือ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ และมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ครอบคลุมทั้ง 4 ชั้นปี โดยการสุ่มตัวอย่างแบบโควต้า แบบสอบถามมีทั้งหมด 10 ข้อ มีเนื้อหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ตามหลักการ ICT Ecodesign ตามแบบ 3Rs ประกอบด้วย การลดการใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ และคาดประมาณปริมาณซากผลิตภัณฑ์ด้วยวิธี Distribution delay ผลการศึกษาพบว่าในปี 2559 มีซากผลิตภัณฑ์ 221ชิ้น (4 ประเภท 17ชนิด) ซากโทรศัพท์มือถือมีจำนวนมากสุด คือ 51 ชิ้นต่อปี (0.13 ชิ้นต่อคน) รองลงมา คือ พัดลม หูฟัง และโน้ตบุ๊ก อัตราการเกิดซากผลิตภัณฑ์ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์เท่ากับ 0.011 กิโลกรัมต่อคน-ปี การปฏิบัติตนของนักศึกษามหาวิทยาลัยในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ตามหลักการ ICT Ecodesign ตาม แบบ 3Rs มีความเหมาะสมปานกลางถึงมาก (ค่าเฉลี่ย 3.42 ± 0.57) โดยการลด (ค่าเฉลี่ย 4.11 ± 0.63) มีระดับการปฏิบัติสูงกว่าการใช้ซ้ำ (ค่าเฉลี่ย 3.37 ± 0.80) และการนำกลับมาใช้ใหม่ (ค่าเฉลี่ย 2.73 ± 0.87) ผลการศึกษาสหสัมพันธ์สเปียร์แมนพบว่าการปฏิบัติโดยใช้หลักการนำกลับมาใช้ใหม่มีสหสัมพันธ์เชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญกับคณะที่เรียน (p < 0.05) จากผลการศึกษาพบว่า มหาวิทยาลัยยังไม่มีระบบการจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสม จึงควรสร้างความตระหนักในการจัดการซากผลิตภัณฑ์ตามหลักการ 3Rs แก่นักศึกษา The main objective of the survey aimed to investigate on how university students handle their end-of-life waste electrical and electronic equipment (WEEE) and estimating the WEEE generation using a survey method. 379 students of 3 faculty groups dividing by content knowledge: science and technology, health science, and humanities and social science, covering the entire year curriculum were selected by quota sampling method. A questionnaire, containing 10 questions, was designed to identify issues following ICT Ecodesign with 3Rs principle which means reduce, reuse, and recycle. For estimating the amount of WEEE generated, the distribution delay method was used. In 2016, the total number of discarded electronic items from university students was 221 units (4 categories, 17 types). The highest WEEE generated was related to mobile phones, with 51 units per year (0.13 unit per capita), followed by electric fans, earphonesand notebooks.The rate of WEEE generationof university students was 0.011 kg per capita. The finding showed that the university student level of awareness toward ICT Ecodesign practice is medium to high (Mean3.42 ± 0.57). The practice of WEEE reduction is higher than reuse (Mean4.11 ± 0.63) and recycle (Mean 3.37 ± 0.80). Result of Spearman correlation found that recycling WEEE practice had significantly positive correlation with the faculty of university students (p < 0.05). From this study, it was found that the university has performed no integrated system for proper management of WEEE, therefore the ICT Ecodesign practice with3Rs should be made across the academic environments.Downloads
Issue
Section
Articles