การพัฒนาเส้นใยนาโนที่มีอนุพันธ์ของโรดามีน บี เป็นองค์ประกอบเพื่อใช้เป็นตัวตรวจวัดทางเคมีเปลี่ยนสีสำหรับการตรวจวัดคอปเปอร์ (II) ไอออน

Authors

  • มาธิตา ร่มโพธิ์
  • สรายุทธ เวชสิทธิ์
  • อภิชาติ อิ่มยิ้ม
  • จอมใจ สุกใส

Keywords:

เส้นใยนาโน, เซลลูโลสอะซิเตท, คอปเปอร์ (II) ไอออน, โรดามีน บี, อิเล็กโตรสปินนิง

Abstract

          ในงานวิจัยนี้ได้ทำการเตรียมเซ็นเซอร์ทางเคมีเชิงแสงจากเส้นใยนาโนของเซลลูโลสอะซิเตท CA ที่มีอนุพันธ์ของโรดามีน บี L1 เป็นองค์ประกอบโดยใช้เทคนิคอิเล็กโตรสปินนิงเพื่อนำมาใช้ในการตรวจวัดคอปเปอร์(II) ไอออน จากการศึกษาลักษณะทางสัณฐานวิทยาของเส้นใยนาโนดังกล่าวด้วยเทคนิค SEM พบว่าเส้นใยที่เตรียมได้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 92 ± 24 นาโนเมตร นอกจากนี้ยังพบว่าเซ็นเซอร์ทางเคมีเชิงแสงจากเส้นใยนาโนที่เตรียมได้มีความจำเพาะเจาะจงกับคอปเปอร์ (II) ไอออนเป็นอย่างดีโดยในสภาวะที่มีคอปเปอร์ (II) ไอออนอยู่ในระบบของเส้นใยจะเปลี่ยนจากสีชมพูจางเป็นสีชมพูเข้ม อันเป็นผลเนื่องมาจากการเกิดสารประกอบเชิงซ้อน CuL1 ภาวะที่เหมาะสมในการตรวจวัดคอปเปอร์ (II) ไอออนด้วยเส้นใย L1-CA คือใช้ปริมาณ L1 ที่ 25 มิลลิกรัม สารละลาย pH เท่ากับ 5 และเวลาที่ใช้ในการตรวจวัดคือ 20 นาทีโดยมีค่าขีดจำกัดต่ำสุดของการตรวจวัดคอปเปอร์ (II) ไอออน เท่ากับ 1.62 mg L-1           In this work, a visual colorimetric sensor based on cellulose acetate nanofibers incorporated with rhodamine B hydrazone derivative L1 was successfully prepared via electrospinning technology. Morphology of the nanofibrous sensor was characterized by SEM, which showed that the uniform nanofibers having diameter of 92 ± 24 nm and formed a non-woven mat. The prepared colorimetric nanofibers showed high sensitivity towards Cu2+ due to the color change from pale pink to intense pink which confirmed the formation of CuL1 complex ion in L1-CA nanofibers. Upon the optimal conditions of amount of L1 at 25 mg, pH solution at 5.0 and response time of 20 min, the detection limit for Cu2+ with L1-CA nanofibers was found to be 1.62 mg L-1.

Downloads