การใช้กากมะพร้าวและ Bacillus licheniformis ในอาหารของปลาตะเพียนขาว
Keywords:
กากมะพร้าว, ปลาตะเพียนขาว, บาซิลลัส ไลเคนนิฟอร์มิสAbstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของกากมะพร้าว (ผลพลอยได้ จากมะพร้าวผ่านการคั้นกะทิ) และ Bacillus licheniformis ต่อการเจริญเติบโตและการต้านทานต่อโรคในปลาตะเพียนขาว (Barbodes gonionotus) หลังจากเลี้ยงปลาตะเพียนเป็นเวลา 8 สัปดาห์ด้วยอาหารทดลอง 4 สูตรได้แก่ สูตรควบคุม (ไม่มีการเสริม คือสูตรที่ 1) สูตรที่ 2 เสริมด้วย 4% (w/w) กากมะพร้าว สูตรที่ 3 เสริมด้วย B. licheniformis ระดับ 106 CFU ต่อกรัมอาหาร และสูตรที่ 4 เสริมด้วย 4% (w/w) กากมะพร้าว และ B. licheniformis ระดับ 106 CFU ต่อกรัมอาหาร พบว่าสูตรที่ 2 และ 4 ที่มีกากมะพร้าวสามารถช่วยด้านการเจริญเติบโตได้แก่ น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น อัตราการเจริญเติบโตจำเพาะ และอัตราการแลกเนื้อ (p<0.05) ในขณะที่สูตรอาหารที่มีองค์ประกอบของ B. licheniformis (สูตร 3) ไม่ส่งผลต่อการเจริญเติบโตเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม (p>0.05) ส่วนค่าโลหิตวิทยาพบว่าในสูตรอาหารที่มีการเสริม B. licheniformis (สูตร 3และ 4) จะทำให้มีปริมาณเม็ดเลือดแดงสูงขึ้น (p<0.05) เมื่อทำการทดสอบความต้านทานต่อโรค Aeromonas hydrophila ระยะเวลาสังเกต 14 วัน พบว่าสูตรอาหารที่มีการเสริม B. licheniformis ทำให้การตายลดลงเมื่อเทียบกับสูตร 1 และ 2 ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าการเสริมอาหารที่มีกากมะพร้าวสามารถช่วยให้การเจริญเติบโตดีขึ้นและไม่ทำให้ค่าโลหิตวิทยาเปลี่ยนแปลง สามารถลดต้นทุนด้านอาหารสำหรับการเลี้ยงปลาตะเพียนขาวได้ ในขณะที่ปลาที่เลี้ยงด้วยอาหารสูตรที่ 4 ทำให้การเจริญเติบโต และการต้านทานต่อโรค A. hydrophila เพิ่มมากขึ้น This study aimed to investigate the effect of coconut residue (by-product of the coconut milk extraction) and Bacillus licheniformison the growth and disease resistant of the silver barb (Barbodes gonionotus). The silver barbs were fed for 8 weeks with 4 formulations of experiment diet consist of control group (without supplement; diet 1), 4% (w/w) coconut residue (diet 2), 106 CFU of B. licheniformis /g diet (diet 3), and 4% (w/w) coconut residue together with 106 CFU of B. licheniformis /g diet (diet 4). It is found that the diet 2 and 4 containing the coconut residue could improve the growth of the silver barbs which are the weight gain, specific growth rate (SGR) and food conversion ratio (FCR) (p<0.05) while the diet formulationconsistsof B. licheniformis (diet 3) have no impact on the growth of the silver barbs when compared with control group (p>0.05). For hematological parameter, it is found that in the diet formulation containing B. licheniformis (diet 3 and 4) could increase the number of red blood cell (RBC) in (p<0.05). After Aeromonas hydrophila resistant test with 14 days observation period, it is found that of the diet formulation containing B. licheniformis (diet 3 and 4) could decrease the fish mortality rate when compared with diet formulation 1 and 2. In conclusion, this result indicates that the coconut residue improves the growth of silver barb while having no impact on hematological parameter, could reduce the cost in silver barb cultivation. Furthermore, the diet formulation 4 increased the growth and disease resistant of A. hydrophila.Downloads
Issue
Section
Articles