วงจรชีวิตและพัฒนาการของแมงกะพรุนหัวกลับ Cassiopea andromeda (Forsskal, 1775) ในห้องปฏิบัติการ

Authors

  • วิไลวรรณ พวงสันเทียะ
  • ศิริวรรณ ชูศรี
  • วรัญญา ชูนาม
  • จักรพงษ์ ศรีพนมยม

Keywords:

แมงกะพรุนหัวกลับ, Candromeda, วงจรชีวิต, พัฒนาการ

Abstract

          ปัจจุบันการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับแมงกะพรุนในประเทศไทย มีข้อมูลค่อนข้างจำกัด ดังนั้นการศึกษาถึงข้อมูล เบื้องต้นทางชีววิทยา ด้านวงจรชีวิตและพัฒนาการ จึงเป็นข้อมูลพื้นนฐานที่สำคัญ เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยด้านอื่นต่อไป การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวงจรชีวิตและพัฒนาการของแมงกะพรุนหัวกลับ Cassiopea andromeda (Forsskal, 1775) ในห้องปฏิบัติการ ตั้งแต่ระยะไซพิสโตม่า (Scyphistoma stage) จนถึงระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่าขนาดเล็ก (Small medusa stage) ผลการศึกษาพบว่าระยะเวลาพัฒนาการตั้งแต่ระยะไซพิสโตม่าจนถึงระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่านาน 12 วัน โดยในวงจรชีวิตประกอบไปด้วย 4 ระยะ คือ ระยะไซพิสโตม่า (Scyphistoma stage) มีรูปร่างเป็น ทรงกระบอกลงเกาะกับพื้นวัสดุ เมื่อพัฒนาเข้าสู่ไซพิสโตม่าสมบูรณ์ (Fully developed scyphistoma) อายุ 4 วัน พบการสืบพันธุ์แบบไม่อาศัยเพศ (Asexual reproduction) เป็นแบบแตกหน่อ (Budding) เมื่ออายุ 5 วัน พบการแบ่งชั้นบริเวณแผ่นปากเป็นระยะสตอบิล่า (Strobila stage) มีการแบ่งชั้นเป็นแบบ Monodisk strobilation และ อายุ 8 วัน ชั้นที่แบ่งบริเวณแผ่นปากหลุด ล่องลอยอยู่ในมวลน้ำเรียกว่า ระยะเอฟิร่า (Ephyra stage) เอฟิร่าใช้ระยะเวลาพัฒนา 4 วัน (อายุ 12 วัน นับจากการทดลอง) และเจริญเติบโตเข้าสู่ระยะที่มีรูปร่างแบบเมดูซ่าขนาดเล็ก (Small medusa stage) ที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางร่มเฉลี่ย 6.1±0.3 มิลลิเมตร (n=10)           Our current knowledge of jellyfish in Thai waters are limited. Yet, basic information regarding life cycle and development of jellyfish are fundamentally necessary for further researches. Thus, these experiments were conducted conducted to study the life cycle and development of the upside-down jellyfish, Cassiopea andromeda (Forsskal, 1775) in laboratory conditions from Scyphistoma to Medusa stages. According to our results, the life cycle of C. andromeda from the scyphistoma to the medusa stage takes approximately 12 days with 4 development stages: The scyphistoma stage has cylindrical shape and settles on substrata. Fully developed scyphistoma (4-day-old) asexually reproduces by budding. In 5-day-old scyphistoma, a transverse constriction appears at the top of its mouth and the scyphistoma subsequently develops into the strobila stage, which exhibits a form of monodisk strobilation. After 8 days, the single top layer is released into the water column, which is referred to as the ephyra stage. The 4-day-old ephyra (12-day-old scyphistoma) then develops and enter the small medusa stage with average bell diameter of 6.1±0.3 mm (n=10).

Downloads