การกำจัดความขุ่นและสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอน กรณีศึกษาระบบการผลิตน้ำประปา ตำบลทรายมูล อำเภอพบิูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี

Authors

  • อมรรัตน์ วงษ์กลม
  • ถนัด ธนะฉัตรชัยรัตนะ

Keywords:

ความขุ่น, สารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำ, กระบวนการสร้างและรวมตะกอน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการกำจัดความขุ่นและสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำในน้ำผิวดินด้วยกระบวนการสร้างและรวมตะกอนในระบบการผลิตน้ำประปา ตำบลทรายมูล อำเภอพิบูลมังสาหาร จังหวัดอุบลราชธานี โดยศึกษาชนิดและปริมาณสารสร้างตะกอน ผลของค่าความเป็นกรดด่างและผลการเติมสารรวมตะกอนชนิด anion polymer ต่อประสิทธิภาพของสารสร้างตะกอนแต่ละชนิด สารสร้างตะกอนที่ศึกษา ได้แก่ อะลูมิเนียมซัลเฟต (Alum) โพลิอะลูมิเนียมคลอไรด์ (PAC) และเฟอร์ริกคลอไรด์ (FeCl3 ) กระบวนการสร้างและรวมตะกอนจะทำได้โดยใช้เครื่องจาร์เทสกวนเร็ว 100 รอบต่อนาที 10 นาทีกวนช้า 30 รอบต่อนาที 20 นาทีและปล่อยให้ตกตะกอน 60 นาที จากการศึกษาพบว่า การใช้ Alum PAC และ FeCl3 จะมีผลต่อการกำจัดความขุ่นและสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำในน้ำผิวดิน ปริมาณที่เหมาะสม คือ 40 mg/L 60 mg/L และ 20 mg/Lตามลำดับ ค่า pH ตั้งต้นของน้ำผิวดินมีผลต่อรูปของสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำและผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการแตกตัวของสารสร้างตะกอน ซึ่งควรใช้ pH ตั้งต้นอยู่ในช่วง pH 6-8 การใช้ anion polymer (polyacrylamide) เข้มข้น 0.10-0.60 mg/L จะมีผลให้ประสิทธิภาพการกำจัดความขุ่น และสารคาร์บอนอินทรีย์ที่ละลายน้ำแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย โดยปริมาณที่เหมาะสม คือ 0.10 mg/L จากการคำนวณค่าใช้จ่ายของสารสร้างตะกอนและรวมตะกอนต่อต้นทุนการบำบัดน้ำ พบว่า สภาวะเหมาะสมในการบำบัดน้ำผิวดิน คือ การใช้สารสร้างตะกอนชนิด Alum เข้มข้น 40 mg/L เนื่องจากมีต้นทุนการบำบัดน้ำต่ำที่สุด (0.1135 บาทต่อลูกบาศก์เมตร) และง่ายต่อการใช้งาน           The objective of this research was to study on removal of turbidity and dissolved organic carbon of surface water from Water Treatment System of Saimoon Municipality, Amphor Piboonmangsaharn, Ubon Ratchathani. The coagulants type and concentration, pH and addition of flocculants as anion polymer on the efficiencies of each coagulants were studied. The coagulants were aluminium sulfate (Alum), polyaluminium chloride (PAC) and ferric chloride (FeCl3 ) were studied. Jar test was used in a coagulation and flocculation process with 100 rpm rapid mixing for 10 minutes, then slower to 30 rpm slow mixing for 20 minutes and settle for 60 minutes. It was found that a using of Alum, PAC and FeCl3 were effected on removal of turbidity and dissolved organic carbon in surface water. The optimum contents were 40 mg/L, 60 mg/L and 20 mg/L, respectively. The initial pH of surface water was effected on characterization of dissolved organic carbon and dissociated products from coagulants. The optimum of initial pH was range from 6 to 8. The using of anion polymer (polyacrylamide) in the range of 0.10-0.60 mg/L was effected on the removal efficiency of turbidity and dissolved organic carbon in a little different. The optimum of anion polymer content was 0.10 mg/L. The expenses of coagulants and flocculants on cost of treatment were calculated. The optimum conditions of surface water treatment was the using of 40-mg/L Alum due to the cost of treatment was lowest (0.1135 baht/m3) and easy to use.

Downloads