ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพของระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดโดยใช้ปลาเป็นตัวชี้วัด

Authors

  • สมศักดิ์ ระยัน
  • ปราณีต งามเสน่ห์

Keywords:

ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพ, ตัวชี้วัด, ตัวแปรทางชีวภาพ, คุณภาพแหล่งที่อยู่อาศัย

Abstract

          ปัจจุบันนี้ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพหลายชนิดกำลังได้รับความนิยมอย่างสูงในการนำไปใช้สนับสนุนข้อมูลทางวิชาการด้านการจัดการ การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการวิจัยต่าง ๆ ดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพของระบบนิเวศแหล่งน้ำ โดยใช้ปลาเป็นตัวชี้วัด (Fish-IBI) ถูกพัฒนาขึ้นเมื่อต้นทศวรรษที่ 1980 เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการจัดลำดับคุณภาพและสภาวะของถิ่นอาศัยในแหล่งน้ำ ดัชนีนี้กำหนดใช้คุณลักษณะของปลากลุ่มต่าง ๆ ที่สามารถสื่อความหมายสัมพันธ์กับสุขภาวะของสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำที่แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงแบบมีทิศทางเมื่อได้รับการรบกวนจากกิจกรรมของมนุษย์คุณลักษณะที่ใช้เป็นตัวชี้วัดเชิงปริมาณนี้ เรียกว่า “เมทริก” (Metrics) ซึ่งครอบคลุมถึงความหลากชนิด แหล่งอาศัย สถานะในโครงสร้างการบริโภค หรือนิสัยการกินอาหารตามธรรมชาติสัดส่วนที่เป็นชนิดเด่น จำนวนชนิดที่อ่อนไหวและความทนทานต่อการเปลี่ยนแปลง และสภาวะการเป็นโรคของกลุ่มปลารวมทั้งหมด 12 เมทริก ซึ่งจะสะท้อนการเปลี่ยนแปลงด้านคุณภาพของสิ่งแวดล้อมในแหล่งน้ำ การกำหนดคะแนนของเมทริกที่นิยมใช้ คือ ระบบคะแนน 1 3 และ 5 คะแนน เมทริกที่ประเมินได้ค่าคะแนน 1 หมายถึง แหล่งน้ำนั้นถูกประเมินด้วยเมทริกนั้นว่ามีคุณภาพต่ำ ส่วนแหล่งน้ำที่มีคุณภาพปานกลางและคุณภาพดีจะมีค่าคะแนนสูงขึ้นเป็น 3 และ 5 คะแนน ตามลำดับ โดยเปรียบเทียบกับแหล่งน้ำที่ใช้อ้างอิง (Reference site) หลังจากได้คะแนนของแต่ละเมทริกแล้วนำมารวมกัน เป็นค่าดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพ (Fish-IBI Score) ดัชนีความสมบูรณ์โดยใช้ปลาเป็นตัวชี้วัดนี้ ผลคะแนนรวมจะมีค่าตั้งแต่ 12 ถึง 60 เกณฑ์การประเมินสถานภาพของแหล่งน้ำจะกำหนดเป็น 5 ระดับตามแนวทางของ Karr (1981) ได้แก่ ระดับยอดเยี่ยม ระดับดี ระดับปานกลาง ระดับเสื่อมโทรม และระดับเสื่อมโทรมมาก ตามลำดับ บทความนี้นำเสนอ วิธีการของดัชนีความสมบูรณ์ทางชีวภาพของระบบนิเวศแหล่งน้ำจืดโดยใช้ปลาเป็นตัวชี้วัด และการประยุกต์ใช้โดยนักวิจัยต่าง ๆ โดยกล่าวถึงวิธีการ และอภิปรายผลประกอบในแต่ละกรณี           The Indices of Biotic Integrity (IBI) are becoming increasingly used as tools for providing scientific information for environmental impact assessment and further research. The Fish-based Index of Biotic Integrity (Fish-IBI) was developed in the early eighties as a tool to classify and rank the environmental quality of aquatic habitats. The Fish-IBI methodology was designed to use biological components (metrics) to determine the relative health of the aquatic environment. The metrics usually included measures of taxonomic richness, habitat and trophic guild composition, dominant species, intolerant and tolerant species, disease health or anomalies, totally 12 metrics. The main criteria for a metric are that it demonstrates a range of values across a gradient of environmental quality and is expected to be found in most aquatic ecosystems. The most common type of scoring for Fish-IBI is the 1-3-5 criteria. Poor habitat quality is scored as 1, moderate habitat quality is scored as 3 and good habitat quality is scored as 5, comparing to the reference site. Each Fish-IBI metric is scored individually and then summed together to create an overall Fish-IBI score for the study site. The overall Fish-IBI calculated ranged from 12 to 60, which can be used to determine the relative health of the site. Using the habitat quality ratings proposed by Karr (1981), the fish habitat ranged 5 levels across the sampling locations are very poor, poor, fair, good and excellent respectively. This paper reviewed the Fish-IBI methodology and the applications for assessing the aquatic ecosystem health, conducted by various researchers. In each case show and discuss on its application.

Downloads