การพัฒนาเทคนิคดอทบลอทเพื่อตรวจสอบไวเทลโลเจนินสำหรับใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพของสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ
Keywords:
ไวเทลโลเจนิน, ปลากะพงขาว, ตัวชี้วัดทางชีวภาพ, เทคนิคดอทบลอท, สารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อAbstract
การพัฒนาเทคนิคดอทบลอท (Dot blot) เพื่อตรวจสอบไวเทลโลเจนิน ในปลากะพงขาวเพื่อใช้เป็นตัวชี้วัดทางชีวภาพของการรับสัมผัสสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อ (Endocrine disrupting chemicals; EDCs) ในสิ่งแวดล้อม พบว่าเทคนิคดอทบลอทโดยใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดีที่จำเพาะต่อไวเทลโลเจนินของปลากะพงขาว (MAb sea bass VTG F3-23) ตรวจวัดระดับไวเทลโลเจนินได้ในระดับ 7.8 นาโนกรัม ซึ่งเป็นระดับที่สามารถนำไปใช้ตรวจสอบไวเทลโลเจนินในปลาธรรมชาติได้ การทดสอบปฏิกิริยาข้ามของ MAb sea bass VTG F3-23 กับปลาเก๋าปะการัง และปลานิลด้วยเทคนิคดอทบลอท พบว่า MAb sea bass VTG F3-23 สามารถทำปฏิกิริยาข้ามกับไวเทลโลเจนินในพลาสมาปลาทั้งสองชนิดที่ได้รับฮอร์โมน 17β เอสตราไดออล โดยไม่ทำปฏิกิริยากับพลาสมาจากปลากลุ่มควบคุม เมื่อนำมาตรวจสอบไวเทลโลเจนินในตัวอย่างปลา 6 ชนิด (ปลานิล ปลาหมอเทศ ปลาช่อน ปลากระดี่ ปลาหมอ และปลาตะเพียน) จากแหล่งน้ำธรรมชาติในพื้นที่อุตสาหกรรม ชุมชน และเกษตรกรรม พบผลบวกของปฏิกิริยาในพลาสมาปลาเพศผู้จากแหล่งอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม (33.33% และ11.11% ตามลำดับ) แสดงถึงมีการปนเปื้อนของสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในแหล่งน้ำ ดังนั้นเทคนิค ดอทบลอทที่พัฒนาขึ้นนี้ สามารถนำไปตรวจสอบไวเทลโลเจนินในปลาธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางบ่งบอกถึงการปนเปื้อนสารรบกวนการทำงานของต่อมไร้ท่อในสิ่งแวดล้อมทางน้ำได้ Development of a dot blot technique for detection of vitellogenin in sea bass (Lates calcarifer) for using as a biomarker of endocrine disrupting chemicals (EDCs) exposure to the environment. Dot blot technique by using a specific monoclonal antibody to vitellogenin of sea bass (MAb-sea bass VTG F3-23) can be measured vitellogenin levels at 7.8 ng. It can be used to monitor vitellogenin in natural fish. Cross-reactivity testing of MAb-sea bass VTG F3-23 has shown the reactivity to vitellogenin from Coral grouper and Nile tilapia that were induced by injection with 17β-estradiol without cross-reactivity to control fish. The assessment of vitellogenin in 6 fish species (nile tilapia, three spotted tilapia, striped snake-head, moonbeam gourami, climbing perch, and silver barbs) from industrial, residential and agriculture area reveals that, the highest induction of VTG in male fishes were found from the industrial and agriculture area respectively (33.33% and 11.11%). These data suggest that EDCs were present in aquatic environment and vitellogenin detection using dot blot techniquecould be validated for a biomarker of EDCs in aquatic environment.Downloads
Issue
Section
Articles