การปรับแก้ความถูกต้องข้อมูลความลึกพื้นทะเล GEBCO30 ในทะเลอันดามัน

Authors

  • เผชิญโชค จินตเศรณี
  • ประสาร อินทเจริญ
  • อนุกูล บูรณประทีปรัตน์

Keywords:

ทะเลอันดามัน, GEBCO30arc-second, การหยั่งน้ำ, ข้อมูลความลึกพื้นมหาสมุทร

Abstract

          ข้อมูลความลึกแผนที่พื้นมหาสมุทรทั่วไป (the GEneral Bathymetric Chart of the Oceans 30 arc-second; GEBCO30) ความละเอียด (Resolution) 0.5 ไมล์ทะเล จำนวน 3 พื้นที่ บริเวณทะเลอันดามันในเขตประเทศไทยถูกปรับแก้ความถูกต้องโดยการเปรียบเทียบกับข้อมูลความลึกซึ่งสำรวจโดยการหยั่งน้ำและเผยแพร่โดยกรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ (Navigation charts; NC) รวมทั้งสิ้น 17 ระวาง การวิจัยเป็นการวิเคราะห์ความคลาดเคลื่อนข้อมูล GEBCO30 ที่ยอมรับได้ตามมาตรฐาน IHO (2008) และการปรับแก้ความถูกต้องข้อมูล GEBCO30 ด้วยชุดคำสั่งในโปรแกรม GMT (Generic Mapping Tools) ผลการศึกษาแสดงว่าข้อมูลความลึกที่ปรับแก้แล้ว (Corrected GEBCO30) และข้อมูล GEBCO30 บริเวณทะเลอันดามันในเขตประเทศไทย จำนวน 133,636 ข้อมูล มีความลึกช่วง (-750)-(0) เมตรและพบว่าข้อมูลความลึกเฉลี่ยร้อยละ 96.25 มีความคลาดเคลื่อนจากข้อมูล NC ตาม IHO (2008) หากต้องการข้อมูลที่มีความละเอียดมากขึ้นควรทำการปรับขนาดกริด (Resampling) ของข้อมูล ข้อมูลที่ได้จากการวิจัยนี้สามารถเผยแพร่ให้ผู้สนใจ นำมาใช้เป็นข้อมูลนำเข้าที่สำคัญในแบบจำลองคณิตศาสตร์เพื่อศึกษาการไหลเวียนของมวลน้ำที่ผิวหน้าของทะเลอันดามันซึ่งจำเป็นต้องใช้ข้อมูลความลึกที่เชื่อถือได้ เนื่องจากจะส่งผลให้การผลของแบบจำลองมีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น           The general bathymetric data (the GEneral Bathymetric Chart of the Oceans 30 arc-second; GEBCO30) with the resolution of 0.5 nautical miles from 3 areas in the Andaman Sea in the area of Thailand was corrected by comparison with the depth data that was surveyed by ship-line sounding and distributed by the Hydrographic Department, the Royal Thai Navy (Navigation charts; NC) for 17charts in total. The research is the discrepancy analysis of the GEBCO30 data following the standard of IHO (2008) and correction of GEBCO30 data by using scripts of GMT (Generic Mapping Tools) programming. The result shows that the corrected GEBCO30 data and GEBCO30 data in the Andaman Sea in the area of Thailand of 133,636 data shows depth ranging between (-780)-(0) meters and found that 96.25 % of data has discrepancy from NC data following IHO (2008). If the fine data is required, grids size of the data could be adjusted by resampling grids. The data from this research can be used as the input data into the mathematical model for study the water circulation in the Andaman Sea that required the corrected data because of confident of model result.

Downloads