ผลของฟองก๊าซ 1-MCP ขนาดไมโคร ต่อคุณภาพของกล้วยหอมทอง

Authors

  • ชัยรัตน์ บูรณะ

Keywords:

กล้วยหอมทอง, คุณภาพหลังการเก็บเกี่ยว, การบ่ม, ฟองก๊าซ 1-MCP

Abstract

          1-Methylcyclopropene (1-MCP) เป็นสารยับยั้งการทำงานของเอทิลีนโดยสามารถชะลอการเสื่อมคุณภาพของผลผลิตทางการเกษตรได้หลายชนิด งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อชะลอกระบวนการสุกและรักษาคุณภาพของกล้วยหอมทอง ด้วยเทคโนโลยีฟองก๊าซขนาดไมโคร (Micro bubbles: MBs) ร่วมกับ 1-MCP ในรูปของฟองก๊าซ 1-MCP ขนาดไมโคร (1-MCP-MBs) ทำการเปรียบเทียบผลของวิธีการรมด้วย 1-MCP 500 ppb และการจุ่มด้วย 1-MCP-MBs ที่ความเข้มข้น 300 และ 500 ppb ตามลำดับ การบ่มด้วยเอทีฟอนความเข้มข้น 500 ppm และมีกล้วยหอมที่ไม่ผ่านกระบวนการใด ๆ เป็นชุดทดลองควบคุม จากนั้นนำกล้วยหอมทั้งหมดไปเก็บรักษาที่ห้องควบคุมอุณหภูมิ 25 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 75±5 ในสภาพที่มีแสง ผลการทดลองพบว่าการบ่มกล้วยหอมทองด้วยเอทีฟ่อนมีผลกระตุ้นอัตราการหายใจโดยมีอัตราการหายใจและการผลิตเอทิลีน โดยมีค่าสูงที่สุดในวันที่ 6 ของการเก็บรักษา จากนั้นมีแนวโน้มลดลงตลอดระยะเวลาการเก็บรักษาการบ่มด้วย เอทีฟ่อนมีผลในการกระตุ้นการเปลี่ยนแปลงเนื้อสัมผัสของกล้วยหอม เร่งการเปลี่ยนสีของเปลือกจากสีเขียวไปเป็น สีเหลืองสอดคล้องกับปริมาณคลอโรฟิลล์ที่วิเคราะห์ได้วิธีการรมกล้วยหอมทองด้วย 1-MCP และการจุ่มด้วย 1-MCP-MBs สามารถชะลอการสุกและรักษาคุณภาพของกล้วยหอมทองได้เมื่อเทียบกับการบ่มด้วยเอทีฟ่อนและชุดทดลองควบคุม โดยที่ความเข้มข้นของ 1-MCP-MBs 500และ 300 ppb ให้ผลไม่แตกต่างกัน ดังนั้นการใช้ 1-MCP-MBs ที่ความเข้มข้น 300 ppb เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษาคุณภาพของกล้วยหอมทอง เนื่องจากสามารถปฏิบัติได้ง่ายและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าการรม ด้วย 1-MCP ซึ่งเป็นประโยชน์ทั้งในการวางจำหน่ายกล้วยที่ตลาดในประเทศและเพื่อการส่งออกที่มีการขนส่งทางเรือ           1-Methylcyclopropene (1-MCP), an inhibitor of ethylene action, is known to delay senescence in several plant species. The objective of this study was to delay the ripening process and maintain the quality of banana cv. Gros Michel by using micro bubbles (MBs) with 1-MCP in the form of 1-MCP-MBs. Bananas were fumigated with 500 ppb of 1-MCP for 12 h. and then dipped in 300 ppb and 500 ppb of 1-MCP-MBs for 15 minutes and in 500 ppm of ethephon solution respectively. Untreated bananas were used for the control treatment. After treatment, all bananas were maintained at 25 ºC and 75±2% Relative Humidity under a lighting condition. Results showed that ethephon treatment enhanced the respiration rate and ethylene production rate. Respiration rate and ethylene production increased and peaked on day 6th and then decreased throughout the storage period. Ripening with ethephon accelerated softening and yellowing in bananas correlated with decreasing of chlorophyll content. The 1-MCP and 1-MCP-MBs treatments delayed the ripening process and maintained the qualities of bananas when compared with ethephon treatment and control groups. However, the result has no difference of 1-MCP-MBs at 300 ppb and 500 ppb. Thus, the 300 ppb of 1-MCP-MBs treatment can be alternative method to maintain the quality of bananas for modern trade and overseas markets.

Downloads