การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาย่านางผสมสมุนไพร

Authors

  • ศิริลักษณ์ ผกามาศ
  • เสาวภา โชกระโทก
  • จิรายุส วรรัตน์โภคา
  • ศศิธร อินทร์นอก

Keywords:

ย่านาง, สมุนไพร, สารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด, ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ

Abstract

          ย่านางเป็นพืชเรือนยอดชั้นล่างที่เป็นไม้เลื้อยในพื้นที่ปกปักพันธุกรรมพืช หนองระเวียง นครราชสีมา ปัจจุบันมีการนำย่านางมาแปรรูปเป็นชาสมุนไพร เนื่องจากย่านางมีสรรพคุณหลากหลาย ใช้เป็นยาแก้พิษ และแก้ไข้เกือบทุกชนิด รวมไปถึงฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระแต่ยังมีข้อจำกัดในเรื่องของรสชาติ งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชาย่านางผสมสมุนไพร ได้แก่ ตะไคร้หญ้าหวาน และเก๊กฮวย ร่วมกับการวิเคราะห์ปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมด ฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระ และการทดสอบทางประสาทสัมผัส จากการศึกษาปริมาณสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดโดยใช้สารละลาย Folinciocalteu พบว่าชาย่านางมีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดน้อยที่สุด 11.84±0.01 ไมโครกรัมของกรดแกลลิคต่อมิลลิลิตร ชาหญ้าหวานมีสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดสูงที่สุด 142.21±0.01 ไมโครกรัมของกรดแกลลิคต่อมิลลิลิตร อย่างไรก็ตามเมื่อผสมย่านางร่วมกับสมุนไพรพบว่าสารประกอบฟีนอลิกทั้งหมดมีค่าเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p≤0.05) ตามปริมาณการเติมสมุนไพร ส่วนฤทธิ์การต้านอนุมูลอิสระด้วยวิธี ABTS และ DPPH พบว่าชาย่านางผสมตะไคร้มีแนวโน้มของการยับยั้งลดลง โดยเฉพาะเมื่อเพิ่มสัดส่วนของตะไคร้ มากกว่าร้อยละ 50 ส่วนชาย่านางผสมหญ้าหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเมื่อเพิ่มปริมาณหญ้าหวาน ในขณะที่ชาย่านางผสมเก็กฮวยมีร้อยละการยับยั้งที่ใกล้เคียงกันในทุกตำรับ จากผลการทดสอบทางประสาทสัมผัสพบว่า ตำรับที่ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงสุดที่เหมาะสำหรับการนำไปพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ คือ ตำรับย่านาง ผสมตะไคร้อัตราส่วน 90:10           Yanang is the over-topped plant, woody climber in Plant Genetic Conservation Area, Nongrawiang, Nakhon Ratchasima. In present, Yanang was developed to be herbal teas because of its various properties; antidote and cure almost fever including antioxidant activities. However, the products were limited with the taste. Thus, this research aimed to develop Yanang mixed herb tea products; Lemongrass, Stevia and Chrysanthemum. Total phenolic compounds, antioxidant activities and sensory test were analyzed. Total phenolic compounds were determined by Folin-ciocalteu reagent. The results revealed that Yanang tea had the lowest of total phenolic content of 11.84±0.01 mg GAE/ml, whereas Stevia tea had the highest of 142.21±0.01 mg GAE/ml. However, when mixing Yanang with other herbs, total phenolic content was significantly increased (p≤0.05) along with herbs adding. For the antioxidant activities of both ABTS and DPPH found that %inhibition of Yanang mixed with Lemongrass was gradually decrease especially when adding Lemongrass more than 50%. For Yanang mixed with Stevia, %inhibition trended to increase when increasing in the amount of Stevia. While %inhibition was similar in each formulas of the Yanang mixed Chrysanthemum. The result from sensory evaluation indicated that the ratio of Yanang with Lemongrass as 90:1 had the highest acceptability and suitable for further developed as product.

Downloads