การตรวจวัดสารเคมีกำจัดศัตรูพืชตกค้างในพริกสดที่จำหน่ายในอำเภอเมืองพิษณุโลก
Keywords:
พริกสด, สารเคมีกำจัดศัตรูพืช, การทดสอบการยับยั้งการทำงานของเอมไซม์Abstract
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสารเคมีตกค้างกลุ่มออร์กาโนฟอสเฟตและคาร์บาเมตในพริกสดที่จำหน่ายในพื้นที่อำเภอเมืองพิษณุโลก โดยทำการเก็บรวบรวมพริกสดจากร้านจำหน่ายพริกสดในตลาดค้าส่งผักจำนวน 5 ร้ าน และห้างสรรพสินค้าจำนวน 3 แห่ง ชนิดของพริกสดที่ทำการศึกษาประกอบด้วย พริกขี้หนู พริกจินดา และพริกชี้ฟ้า รวมทั้งสิ้น 24 ตัวอย่าง วิเคราะห์การตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชด้วยการใช้ชุดทดสอบ GT-Pesticide Residual test kit (GT) ชนิดวิเคราะห์ผล 60 นาที จากการเปรียบเทียบร้อยละของการยับยั้งการทำงานของเอมไซม์ acetylcholinesterase (AChE) ในพริกสดตัวอย่าง พบว่าพริกจินดามีค่าเฉลี่ยของร้อยละของการยับยั้งการทำงานของ AChE มากที่สุดเท่ากับร้อยละ 27.62±19.16 รองลงมาได้แก่ พริกขี้หนูเท่ากับร้อยละ 18.31±4.18 และพริกชี้ฟ้าเท่ากับ ร้อยละ 11.63±4.67 ตามลำดับ พริกทั้งสามชนิดมีค่าเฉลี่ยของร้อยละการยับยั้งการทำงานของ AChE ต่างกันอย่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (F = 3.958, p = 0.040) ค่าเฉลี่ยของร้อยละการยับยั้งการทำงานของ AChE ในพริกทุกชนิดอยู่ในระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ อย่างไรก็ตามตัวอย่างพริกจินดา ที่มาจากตลาดค้าส่งผักจำนวน 1 ตัวอย่าง พบร้อยละของการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ที่สูงกว่าระดับที่ปลอดภัยต่อสุขภาพ โดยมีค่าร้อยละของการยับยั้งการทำงานของ AChE เท่ากับ 89.47 การตกค้างของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชในพริกอาจมีโอกาสส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรมีการดำเนินการเฝ้าระวังสารเคมีตกค้างในพริกชนิดต่างๆ เพื่อความปลอดภัยทางอาหารของผู้บริโภค This study aimed to determine the contamination of organophosphate and carbamate in fresh chilies sold by 5 stalls in a wholesale vegetable market and 3 supermarkets in Phitsanulok. A totalof 24 various types of chilies, including Kii noo chili, Chinda chili and Chee fah chili, was collected. All samples were tested for residues of pesticides using GT-test kit with 60 minutes of time for analysis. The result was expressed as a percentage of acetylcholinesterase (AChE) inhibition. The Chinda chili had the highest percentage of AChE inhibition at 27.62±19.16 followed by Kii noo chili at 18.31±4.18 and Chee fah chili at 11.63±4.67. The results showed statistically significant differences between the average of percentage of AChE inhibition of diffrence types of chilies (F = 3.958, p = 0.040). All of the chili samples contained the average percentage of AChE inhibition at the safe toxicity level. However, the percentage of enzyme inhibition in one sample of Chinda chili was at the unsafe toxicity levels with the percentage of AChE inhibition of 89.47. The presence of pesticide residue in fresh chilies might have a negative effect on health of consumers. Relevant agencies should monitor and test for pesticide residues in fresh chilies for food safety.Downloads
Issue
Section
Articles