ผลของแคลเซียมคลอไรด์ต่อการลดอาการปลายยอดไหม้ของฮาน (Elsholtzia stachyodes) ในหลอดทดลอง

Authors

  • ชนกขวัญ ศรีคำ
  • ศรีสุลักษณ์ ธีรานุพัฒนา
  • กิตติศักดิ์ โชติกเดชาณรงค์
  • สิริพร โรจน์อารยานนท์
  • อังคณา อินตา

Keywords:

การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ, ฮาน, ปลายยอดไหม้, แคลเซียมคลอไรด์, BA

Abstract

          ฮาน (Elsholtzia stachyodes) จัดอยู่ในวงศ์ Lamiaceae ชาวไทยภูเขาใช้ใบประกอบอาหาร เป็นพืชที่น่าสนใจ เนื่องจากมีสารฟลาโวนอยด์ปริมาณมาก ซึ่งมีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ต้านอนุมูลอิสระ และต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตามการขยายพันธุ์โดยใช้เมล็ดมีข้อจำกัด เนื่องจากเมล็ดฮานมีความมีชีวิต และอัตราการงอกต่ำ ดังนั้นเทคนิคการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อการขยายพันธุ์ฮานให้ได้ปริมาณมากในเวลาอันรวดเร็ว การเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนยอดของฮานในขั้นตอนการเพิ่มจำนวนยอด มักพบปัญหาอาการปลายยอดไหม้ ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของแคลเซียมคลอไรด์ต่อการลดอาการปลายยอดไหม้ในฮาน โดยเพาะเลี้ยงยอดของฮานที่ได้จากต้นอ่อนปลอดเชื้ออายุ 4 สัปดาห์ บนอาหารสูตร MS (มีแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 440 มิลลิกรัมต่อลิตร) และอาหารสูตร MS ดัดแปลงที่มีแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 880 และ 1320 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 0, 0.5 และ 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าอาหารที่เหมาะสมที่สุด คืออาหารสูตร MS ดัดแปลงที่มีแคลเซียมคลอไรด์ความเข้มข้น 880 มิลลิกรัมต่อลิตร ร่วมกับ BA ความเข้มข้น 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร ให้การเกิดยอดสูงสุดเป็น 100 เปอร์เซ็นต์ยอดมีลักษณะปกติสูงสุด 76.34 เปอร์เซ็นต์และมีจำนวนยอด เฉลี่ย 2.36 ยอดต่อชิ้นส่วนพืช           Elsholtzia stachyodes is classified in the family of Lamiaceae. Its leaves are used as vegetables by hill tribe people in Thailand. This plant is interesting since it contains high content of flavonoids which possess anticancer, antioxidant, and anti- inflammatory activities. However, seed propagation success is limited by low viability and germinationof seed. Therefore, tissue culture technique is an alternative method to reach high quantity of the plant within a short period of time. For shoot multiplication, shoot tip necrosis is a major problem for E. stachyodes. Therefore, the current research aims to study effects of calcium chloride on reducing shoot tip necrosis by culturing the 4 week-old shoots of E. stachyodes on MS medium containing 440 mg/L of calcium chloride and the modified MS media containing 880 or 1320 mg/L of calcium chloride in combination with BA at 0, 0.5, or 1 mg/L for 4 weeks. The results showed that the most appropriate medium formula was the modified MS media containing 880 mg/mL of calcium chloride in combination with 0.5 mg/L of BA. This formulation resulted in 100% shoot induction with 76.34 % of normal shoot characteristics, and the average number of shoots was 2.36 shoots/explant.

Downloads