การเลือกตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมสำหรับราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว
Keywords:
ข้าวเหนียว, วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์, วิธีการพยากรณ์รวม, เปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ย, รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยAbstract
วัตถุประสงค์ของการศึกษาครั้งนี้คือ การสร้างและคัดเลือกตัวแบบพยากรณ์ที่เหมาะสมกับอนุกรมเวลาราคาข้าวเปลือกเหนียวเมล็ดยาว โดยใช้ข้อมูลจากเว็บไซต์ของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2548 ถึง เดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 159 ค่า แบ่งข้อมูลออกเป็น 2 ชุด ชุดที่ 1 ตั้งแต่เดือนมกราคม ปี พ.ศ. 2548 ถึงเดือน กันยายน ปี พ.ศ. 2560 จำนวน 153 ค่า สำหรับการสร้างตัวแบบพยากรณ์ด้วยวิธีบ็อกซ์-เจนกินส์และวิธีการพยากรณ์รวมข้อมูลชุดที่ 2 ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี พ.ศ. 2560 ถึงเดือนมีนาคม ปี พ.ศ. 2561 จำนวน 6 ค่า สำหรับการเปรียบเทียบความถูกต้องของตัวแบบพยากรณ์ โดยใช้เกณฑ์เปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยและเกณฑ์รากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยที่ต่ำที่สุด ผลการศึกษาพบว่า วิธีที่มีความถูกต้องมากที่สุดจากวิธีการพยากรณ์ทั้งหมดที่ได้ศึกษา คือ วิธีบ็อกซ์-เจนกินส์ ซึ่งมีตัวแบบพยากรณ์เป็นY^ t = 1 .367705Y t-1 - 0.367705Y t-2 โดยมีเปอร์เซ็นต์ค่าคลาดเคลื่อนสัมบูรณ์เฉลี่ยเท่ากับ 3.5815 และรากของค่าคลาดเคลื่อนกำลังสองเฉลี่ยเท่ากับ 439.9647 The objective of this study was to construct and select the appropriate forecasting model for the grain price of long Oryza sativa. The data gathered from the website of Office of Agricultural Economics during January, 2005 to March, 2018 of 159 values were used and divided into 2 sets. The first set had 153 values from January, 2005 to September, 2017 for constructing the forecasting models by Box-Jenkins method and combined forecasting method. The second set had 6 values from October, 2017 to March, 2018 for comparing accuracy of forecasted models via the criteria of the lowest mean absolute percentage error and root mean squared error. The study results indicated that the most accurate method derived from both forecasting methods was BoxJenkins method and the forecasting model was Y^ t = 1 .367705Y t-1 - 0.367705Y t-2 where the mean absolute percentage error was 3.5815 and the root mean squared error was 439.9647.Downloads
Issue
Section
Articles