ผลของความเร็วลมและอุณหภูมิต่อความเข้มเสียงของกังหันลมผลิตไฟฟ้า ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Authors

  • จินดา คงเจริญ
  • ณัฐจิต อ้นเมฆ
  • นลินี ณสุย
  • อรณลิน มรรคาเขต

Keywords:

ความเข้มเสียง, กังหันลม, ความเร็วลม, อุณหภูมิ, การวิเคราะห์ถดถอยพหุ

Abstract

       กังหันลมเป็นเทคโนโลยีพลังงานลมจากธรรมชาติใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้าโดยไม่ก่อให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความเข้มเสียงที่เกิดจากกังหันลม และผลกระทบของเสียงกังหันลมกับประชาชนในบริเวณใกล้เคียงกับพื้นที่ตั้งกังหันลมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ตลอดจนศึกษาผลของความเร็วลมและอุณหภูมิต่อระดับความเข้มเสียง ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลความเข้มเสียง (Type A และ Type C), ความเร็วลม และอุณหภูมิโดยใช้เครื่องตรวจวัดเสียงและเครื่องวัดความเร็วลม ประเมินผลกระทบของกังหันลมจากประชาชนโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียรสันและการวิเคราะห์ถดถอยพหุ ผลการศึกษา พบว่า ระดับเสียงของ Type C โดยเฉลี่ยสูงกว่าใน Type A ในทุกช่วงเวลา แต่อย่างไรก็ตามเสียงดังที่เกิดจากกังหันลมมีค่าไม่เกินค่าพระราชบัญญัติสิ่งแวดล้อมฉบับที่ 15 (พ.ศ. 2540) และมาตรฐานของ NIOSH ตลอดจนไม่ส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของประชาชนในบริเวณดังกล่าวและส่วนใหญ่เห็นด้วยกับการติดตั้งกังหันลม นอกจากนี้พบว่าอุณหภูมิมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มเสียงในระดับมาก และความเร็วลมมีความสัมพันธ์ทางบวกกับความเข้มเสียง ในระดับปานกลาง โดยอุณหภูมิและความเร็วลมร่วมทำนายความเข้มเสียงได้ร้อยละ 45.39 (Type A) และร้อยละ 68.66 (Type C) ซึ่งการทราบถึงระดับอุณหภูมิและความเร็วลมที่ส่งผลต่อการเกิดเสียงของกังหันลม เพื่อนำไปใช้วางแผนเพื่อพัฒนาพลังงานลมในพื้นที่ให้เหมาะสม             A wind turbine was a device converting the wind’s kinetic energy into electrical energy without emitting pollution. The purposes of this research were to investigate the levels of noise generated by wind turbines and their impacts to people living in the vicinity of the wind turbines in Nakhon Si Thammarat province. The effects of wind speed, air temperature and the levels of noise were investigated. The noise level was measured by the sound level meter. The wind speed and air temperature were measured anemometer (TSI Incorporated). In addition, the impact assessments of wind turbines on people were investigated using the questionnaire. Statistical analysis used in this study included one-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficient and multiple regression analysis. The results showed the average of sound intensity level caused by wind turbines in Type C was higher than Type A. All measurements of sound intensity levels from wind turbines did not exceed the standard limit of the Enhancement and Conservation of National Environmental Quality Act B.E.2540 and NIOSH. Moreover, sound intensity levels did not affect the quality of life in people. Thus, people agreed with the installation of wind turbines for electric generation. Air temperature was found to be positively associated with the sound intensity level. Furthermore, the moderate level of a significant relationship between wind speed and sound intensity was observed. By using air temperature and wind speed to predict the sound intensity level, the predicted values for Type A and Type C were 45.39.0% and 68.66% respectively. These relationships found in this study might be used to plan the improvement of wind energy in appropriate areas.

Downloads

Published

2021-04-26