ปริมาณโลหะหนักในดินตะกอนบริเวณเรือจมมัตโพน จังหวัดชลบุรี
Keywords:
ดินตะกอน, โลหะหนัก, เรือจมมัตโพนAbstract
งานวิจัยนี้ทำการศึกษาปริมาณโลหะหนักในดินตะกอนบริเวณเรือจมมัตโพน ซึ่งตั้งอยู่ทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของเกาะล้าน จ.ชลบุรี ที่ระดับความลึกน้ำประมาณ 22 เมตร จากจุดเก็บตัวอย่างทั้งหมด 12 จุด ได้แก่ ด้านใน กลาง และด้านนอกของปะการังเทียมแต่ละด้าน และจุดอ้างอิงห่างจากฝั่งอีกประมาณ 700 เมตร โดยโลหะหนักที่ทำการศึกษาทั้งหมด 6 ชนิด ได้แก่ ทองแดง แมงกานีส เหล็ก แคดเมียม ตะกั่ว และสังกะสี และทำการเก็บข้อมูลทั้งหมด 5 ครั้งในเดือนมิถุนายน ตุลาคม ธันวาคม พ.ศ. 2560 มีนาคมและมิถุนายน พ.ศ.2561 ผลการศึกษาพบว่าค่าเฉลี่ยของปริมาณทองแดง 0.08-0.49 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแมงกานีสอยู่ระหว่าง 28.21-45.18 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณเหล็ก 609.79-1213.75 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณแคดเมียม 0.21-0.70 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ปริมาณตะกั่ว 9.08-13.94 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และปริมาณสังกะสี 1.72-4.13 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งปริมาณโลหะหนักที่พบส่วนใหญ่ยกเว้นแมงกานีสจะมีค่าสูงกว่าบริเวณจุดอ้างอิง ส่วนการเปลี่ยนแปลงตามเวลาพบว่าปริมาณโลหะหนักเกือบทุกตัวมีแนวโน้มที่ลดลง เมื่อนำมาเปรียบเทียบกับพื้นที่ใกล้เคียง 2 บริเวณ (บางละมุงและมาบตาพุด) ซึ่งมีการใช้ประโยชน์ทางทะเลเช่นกัน พบว่าบริเวณพื้นที่ศึกษามีปริมาณตะกั่วสูงกว่าทั้งสองพื้นที่ แต่อย่างไรก็ตามปริมาณโลหะหนักที่พบทั้งหมดยังไม่เกินค่ามาตรฐานที่จะส่งผลต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศในทะเล This research was studied on some heavy metals in sediment around Mattapon Shipwreck, mounted at 22m depth, located in Northeast of Koh Lan, Chonburi Province from 12 stations including the near, middle and outer aspects of each side and one reference point (700 meters from the shore). Sediments were acid digested and analyzed for the following six selected heavy metals: Copper (Cu), Manganese (Mn), Iron (Fe), Cadmium (Cd), Lead (Pb), and Zinc (Zn). The study was conducted 5 times in June, October and December in 2017, March and June in 2018. The results showed that the average amount of Copper was 0.08-0.49 mg/kg, Manganese 28.21-45.18 mg/kg, Iron 609.79-1213.75 mg/kg, Cadmium 0.21-0.70 mg/kg, and Lead 9.08-13.94 mg/kg. The concentrations of theses heavy metals except Manganese were higher than the reference point. However, the concentration of heavy metals were gradually decreased by time. In comparison with other two areas – Banglamung and Maptaphut, the concentration of Lead in the study area was higher than both areas. However, the mean concentrations of these heavy metals in sediment did not exceed the critical concentrations levels that will affect the organisms and marine ecosystem.Downloads
Issue
Section
Articles