การเปรียบเทียบช่วงความเชื่อมั่นสำหรับความแปรปรวนของอิทธิพลสุ่มในตัวแบบเชิงลำดับขั้นไม่สมดุล
Keywords:
ช่วงความเชื่อมั่น, ความแปรปรวน, อิทธิพลสุ่ม, ตัวแบบเชิงลำดับขั้นไม่สมดุลAbstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา และเปรียบเทียบประสิทธิภาพของวิธีการประมาณช่วงความเชื่อมั่นสำหรับความแปรปรวนของอิทธิพลสุ่มในตัวแบบเชิงลำดับขั้นไม่สมดุล 3 วิธี คือ วิธี TG (Ting et al., 1990) วิธี PB (Park et al., 2003) และวิธี LL (Li et al., 2005) โดยพิจารณาค่าประมาณสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่น และค่าความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่น เป็นเกณฑ์ในการเปรียบเทียบ กำหนดให้ข้อมูลมีขนาดตัวอย่างในแต่ละกลุ่ม (ni ) เท่ากับ (5,8,10), (5,10,15), (5,2,7,5,7,9) และ (5,10,15,5,10,15) สหสัมพันธ์ ภายในชั้น (p) มีค่า 0.001, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4, 0.5, 0.6, 0.7, 0.8, 0.9, 0.999 และ กำหนดค่าสัมประสิทธิ์ความเชื่อมั่นที่ 90% ทำการจำลองข้อมูลโดยใช้เทคนิคมอนติคาร์โล (Monte Carlo Technique) ด้วย โปรแกรม SAS ทำการทดลองซ้ำ 2,000 ครั้ง ในแต่ละสถานการณ์ที่ศึกษา จากการศึกษาพบว่า วิธี PB เป็นวิธีที่ดีที่สุด ในสถานการณ์ที่ศึกษาเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมีค่าความกว้างเฉลี่ยของช่วงความเชื่อมั่นต่ำ The objective of this research is to study and compare three interval estimation methods for variance of random effect in unbalanced hierarchical model; the TG method (Ting et al., 1990), the PB method (Park et al., 2003) and the LL method (Li et al., 2005). The considered criteria are based on the confidence coefficients and the average length of the confidence intervals. The scopes of this research are consisted of the sample sizes (ni ) : (5,8,10), (5,10,15), (5,2,7,5,7,9) and (5,10,15,5,10,15) the intracluster correlation (p= 0.001, 0.1, 0.2, 0.3, 0.4, 0.5, 0.6, 0.7, 0.8, 0.9, 0.999) and the confidence level which is 90%. Data is simulated 2,000 times for each situation by Monte Carlo Technique using SAS software. The simulation results show that the PB method is the best method for most situations because it provides the smallest average length of confidence interval.Downloads
Issue
Section
Articles