ความหลากหลายทางชนิด การแพร่กระจาย และประชาคมปู ตามแนวชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

Authors

  • พันธุ์ทิพย์ วิเศษพงษ์พันธ์
  • วาสนา อากรรัตน์
  • จินตนา สและน้อย

Keywords:

ปู, ประจวบคีรีขันธ์, ประชาคมปู, ปูเหลือทิ้ง, อวนจมปู, แนวชายฝั่ง

Abstract

        ในการศึกษาความหลากหลายทางชนิด และการแพร่กระจายของปูจากอวนจมปูตามแนวชายฝั่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ 6 สถานี ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 พบว่ามีความชุกชุมทางชนิด คือ 95 ชนิด 55 สกุล และ 22 วงศ์ ปูชนิดเด่น ได้แก่ ปูม้า (Portunus pelgicus) ปูเป้เล็ก (Dorippoides facchino) ปูบึ้ง (Doclea canalifera) และปูก้านตายาว (Podophthalmus vigil) กลุ่มปูหายากมีจำนวนชนิดมากที่สุดคือ 79.80% ของจำนวนชนิดปูทั้งหมด ความหลากหลายทางชนิดและการแพร่กระจายของปูผันแปรตามสถานที่และฤดูกาล โดยสถานีบ้านกรูด มีความชุกชุมทางชนิดมากที่สุดคือ 65 ชนิด เดือนสิงหาคมและพฤศจิกายนมีความชุกชุมทางชนิดสูง คือ 69 และ 65 ชนิด ปัจจัยสำคัญที่น่าจะมีผลต่อความหลากหลายทางชนิดของปู คือ แหล่งที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกันบนพื้นท้องทะเลและคลื่นลม ซึ่งส่งผลให้ประชาคมปูมีความแตกต่างกันด้วย โดยเขากะโหลกมีค่าดัชนีความหลากหลายทางชนิดและดัชนีความสม่ำเสมอทางชนิดสูงสุด คือ 2.789 และ 0.742 บ้านกรูดมีค่าดัชนีความชุกชุมทางชนิดสูงสุด คือ 9.582 ประชาคมปูแบ่งเป็น 4 กลุ่ม คือ เขาตะเกียบ เขากะโหลก ห้วยยาง และกลุ่มที่คล้ายคลึงกันที่สุดคือหนองพรม บ้านกรูด และ บางสะพานน้อย การทำประมงอวนจมปูในบริเวณนี้ยังพบสัตว์น้ำพลอยจับได้และถูกทิ้งไปสูงมากคิดเป็นร้อยละ 52.22-73.41 ของปริมาณสัตว์น้ำทั้งหมด และอัตราการถูกทิ้ง 2.27-2.76 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นปูที่ไม่ได้นำไปใช้ประโยชน์ใด ๆ ซึ่งมีจำนวนชนิดสูงถึงร้อยละ 82.65 ของจำนวนชนิดปูทั้งหมด ดังนั้นองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาจึงนี้มีความสำคัญ ต่อการจัดการและอนุรักษ์ทรัพยากรปู และนำไปสู่การพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพของปู อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนต่อไป            This study aimed to investigate the species diversity and distribution of crabs caught by bottom gill net along coast of Prachuab Kiri Khan which were carried out 6 stations during February-November, 2017. The species richness of crabs were totally 95 species, 55 genera and 22 families. The dominant species were Portunus pelgicus, Dorippoides facchino, Doclea canalifera and Podophthalmus vigil. The rare species had the maximum numbers of species at 79.80% of total number of species. The species diversity and distribution of crabs were spatial and seasonal variation. The highest species richness at 65 species were belonged to Bankood station. While in August and November had high species richness at 69 and 65 species. The important factors had affected on species diversity of crabs were supposed to be the different habitat on sea substratum and wave which also affected on the community structure of crabs. Koakralok had the highest Shannon’s diversity index and Peilou's evenness index at 2.789 and 0.742 while Bankood had the highest species richness index at 9.582. The crab community were divided into 4 groups; Kaotakeab, Koakralok, Huayyang and the most similar groups were Nongprom, Bankood and Bangsaphannoi. The amount of discarded species caught by bottom gill net in this area were quite high at 52.22-73.41 % of total catch and the discard ratio at 2.27-2.76. The major discarded species were wasted crabs which had high numbers of species about 82.65 % of total numbers of species. The knowledges from this study were important criteria for management and conservation of crabs and for further development for effective and sustainable utilization of crab biodiversity.

Downloads