การกระจายของขนาดตะกอนพื้นผิวในอ่าวไทยตอนใน
Keywords:
ตะกอนพื้นผิวทะเล, อ่าวไทยตอนในAbstract
ศึกษาสัดส่วนอนุภาคตะกอนพื้นผิวทะเลอ่าวไทยตอนใน โดยมีสมมุติฐานว่าสัดส่วนอนุภาคตะกอน แปรผัน ตามปริมาณน้ำท่าที่ก้นอ่าว ฤดูกาลและสภาพสมุทรศาสตร์ เก็บตัวอย่างตะกอนพื้นท้องทะเลในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2560 ตุลาคม พ.ศ. 2560 และเมษายน พ.ศ. 2561 ได้จำนวนตัวอย่าง 12, 13 และ 20 ตัวอย่างตามลำดับ วิเคราะห์สัดส่วนอนุภาคตะกอนด้วยวิธีร่อนผ่านตะแกรงและด้วยวิธีปิเปต ผลการศึกษา พบว่าก้นอ่าวไทยตอนในมีสัดส่วนตะกอนเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาล จากอนุภาคทรายปนทรายแป้งเป็นดิน เหนียวปนทรายแป้ง โดยตะกอนขนาดเล็กแขวนลอยมากับน้ำท่าในฤดูน้ำหลากหรือ ฟุ้งกระจายขึ้นมาจากท้อง น้ำและชายฝั่งก้นอ่าว ขณะที่ปากอ่าวไทยตอนในฝั่งตะวันออกเป็นอนุภาคทรายตลอดทั้งปี โดยเป็นตะกอนจาก ชายฝั่งทะเลในอดีตหรือก้นแม่น้ำโบราณ ค่ามัธยฐาน (D50) ของตะกอนพื้นผิวเป็นดินเหนียวถึงทรายละเอียด ค่าเฉลี่ยคณิตศาสตร์ (average ø) ตะกอนอยู่ในช่วงดินเหนียวถึงทรายหยาบ การคัดขนาดอนุภาคตะกอนไม่ดี และการวิเคราะห์ความแปรปรวนของค่าเฉลี่ยอนุภาคตะกอนท้องน้ำพบว่าขนาดตะกอนเฉลี่ยก้นอ่าวมีขนาดเล็กกว่า ขนาดตะกอนเฉลี่ยใกล้ปากอ่าวไทยตอนในและขนาดตะกอนที่ก้นอ่าวเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลอย่างมีนัยสำคัญ ที่ความเชื่อมั่น 𝛼α0.05 Grain size distribution of surface sediment in the inner Gulf of Thailand was studied with the hypothesis that the grain size distribution would vary with the amount of river discharge in the inner bay, seasons and oceanographic conditions. Field excursion during June 2017, October 2017 and April 2018 had yielded 12, 13 and 20 bottom sediment samples respectively. The samples were later analyzed using sieving and pipette methods. The results showed that the sediment grain size in the inner bay varied with seasons from silty sand to silty clay. The suspended fine-grain sediment was carried out to the bay by the river discharge during rainy season or resuspended from the sea bottom or the inner coast. Sand sediment was found at the mouth of the inner gulf with the sources coming from the ancient coast or deposition from the ancient rivers. D50 of surface sediments varied from clay to very fine sand while arithmetic mean (average ø) varied from mud to coarse sand. Sediment sorting was poor. Analysis of variances significantly (α0.05) indicated that sediment grain size differed from fine grain in the inner bay to sand at the mouth of the inner Gulf and the sediment grain size in the inner bay differed from season to season.Downloads
Issue
Section
Articles