ผลของสารอัลลีโลพาทีจากใบพลู (Piper betle L.) ต่อการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโต และสรีรวิทยาของถั่วเขียว (Vigna radiata (L.) R. Wilczek)

Authors

  • พรปวีณ์ ทนสูงเนิน
  • ภาคภูมิ พระประเสริฐ

Keywords:

อัลลีโลพาที, พลู, สรีรวิทยาการงอก, ถั่วเขียว, α-amylase

Abstract

          ศึกษาผลของสารสกัดจากใบพลู (Piper betle L.) ต่อการงอกของเมล็ด การเจริญเติบโตและสรีรวิทยาของถั่วเขียว (Vigna radiata (L.) R. Wilczek) โดยแช่เมล็ดถั่วเขียวในสารสกัดจากใบพลูที่อัตราส่วนใบพลูแห้งต่อน้ำ 20 40 60 และ 80 กรัม/ลิตร เป็นเวลา 3 วัน พบว่า ถั่วเขียวมีเปอร์เซ็นต์การงอก น้ำหนักสดและน้ำหนักแห้งลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม โดยความเข้มข้นของสารสกัดที่เพิ่มขึ้นมีผลยับยั้งการงอกของเมล็ดมากขึ้น โดยความเข้มข้นของสารสกัดที่สามารถยับยั้ง การงอกของถั่วเขียวได้ 50 เปอร์เซ็นต์ (IC50) มีค่าเท่ากับ 12.75 มิลลิกรัมต่อมิลลิลิตร เมื่อนำสารสกัดที่ IC50 ไปทดสอบกับเมล็ดถั่วเขียว เพื่อหาปริมาณ น้ำตาลรีดิวซ์ แป้ง โปรตีน และ กิจกรรมของเอนไซม์ α-amylase โดยใช้น้ำกลั่นเป็นชุดควบคุม พบว่า เมล็ดถั่วเขียวที่แช่ในสารสกัดที่ IC50 เป็นเวลา 3 วัน มีปริมาณน้ำตาลรีดิวซ์ โปรตีน และ กิจกรรมของเอนไซม์ α-amylase ลดลง เมื่อเปรียบเทียบกับชุดควบคุม แต่พบว่าปริมาณแป้งมากกว่าชุดควบคุม และเมื่อนำสารสกัดจากใบพลูทดสอบกับเอนไซม์ α-amylase พบว่า สารสกัดจากใบพลูมีผลทำให้กิจกรรมของเอนไซม์ α-amylase ลดลง ดังนั้นอาจสรุป ได้ว่าสารสกัดจากใบพลูมีผลยับยั้งกระบวนการสลายแป้งซึ่งเป็นอาหารสะสมสำคัญของเมล็ด รวมทั้งมีผลให้การสร้างโปรตีนของเมล็ดลดลง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เมล็ดพืชทดสอบไม่งอกเมื่อได้รับสารสกัดจากใบพลู          The effect of aqueous leaf-extract from Piper betle L. on germination, growth and physiology of mung bean (Vigna radiata (L.) R. Wilczek) were examined. Mung bean seeds were immersed in betel leaf extract at the ratio of dry leave and water of 20, 40, 60 and 80 g/L for 3 days. The results showed the reduction of germination percentage, fresh and dry weight when compared to the control. The higher of the concentration of the extracts resulted the more inhibiting seed germination. The inhibition concentration at 50% seed germination (IC50) was 12.75 mg/mL of extractable from betel dry leaves. The extract at the IC50 was used to determine the sugar, starch, and protein content and also activity of α-amylase. Extract treated seeds showed the reduction of reducing sugar, protein and α-amylase activity when compared to the control. Starch determination in treated seed were higher than the control. The betel leaf extract was also tested to α-amylase and demonstrated that betel leaf extract inhibited α-amylase activity. This might be concluded that the betel leaf extract can inhibited the activity of α-amylase and effected to protein synthesis of tested seeds which might be the causes of seed ungemination.

Downloads