การเพิ่มปริมาณต้นและการชักนำให้เกิดแคลลัสจากชิ้นส่วนใบในสภาพหลอดทดลองของหยาดน้ำค้าง (Drosera spathulata Labill. และ Drosera adelae F. Muell.)

Authors

  • รุ่งนภา ครองธรรม
  • ศิรศาธิญากร จันทร์ขศิราพร

Keywords:

การชักนำให้เกิดแคลลัส, การออกดอกในหลอดทดลอง, สารควบคุมการเจริญเติบโต, หยาดน้ำค้าง

Abstract

          การเพิ่มปริมาณต้นและการชักนำให้เกิดแคลลัสจากการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนใบในสภาพหลอดทดลองของหยาดน้ำค้าง 2 ชนิด คือ D. spathulata Labill. และ D. adelae F. Muell. บนอาหารกึ่งแข็งสูตร MS ที่มีความเข้มข้นของธาตุอาหารหลักที่แตกต่างกันคือ MS 1/2MS 1/3MS และ 1/4MS เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดต้นใหม่ พบว่าชิ้นส่วนใบของ D. spathulata Labill. ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS สามารถถูกชักนำให้เกิดยอดและออกดอกในหลอดทดลองได้ โดยมีจำนวนยอด และจำนวนช่อดอกมากที่สุด ขณะที่ชิ้นส่วนใบที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/2MS สามารถถูกชักนำให้เกิดรากได้ดี โดยมีจำนวนรากและความยาวรากมากที่สุด สำหรับชิ้นส่วนใบของ D. adelae F. Muell ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS สามารถถูกชักนำให้เกิดยอดและรากได้ดีเช่นกัน โดยมีจำนวนยอดและจำนวนรากมากที่สุด และเมื่อนำชิ้นส่วนใบของหยาดน้ำค้างทั้ง 2 ชนิดไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่เติม BA 0 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 8 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดแคลลัส พบว่าชิ้นส่วนใบของหยาดน้ำค้างทั้ง 2 ชนิด ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่เติม BA 0.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีการพัฒนาเป็นแคลลัสได้ โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางและน้ำหนักสดของแคลลัสมากที่สุด แต่ชิ้นส่วนใบที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่ไม่เติม BA จะเห็นได้ว่า ชิ้นส่วนใบถูกชักนำให้มีการสร้างยอดและรากเกิดขึ้น หลังจากนั้นนำยอดที่ได้ไปเพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่เติม IBA 0 0.5 1.0 1.5 และ 2.0 มิลลิกรัมต่อลิตร เป็นเวลา 6 สัปดาห์ พบว่า ชิ้นส่วนยอดของ D. spathulata Labill. ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่เติม IBA 1.5 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจำนวนรากมากที่สุด ส่วนชิ้นส่วนยอดของ D. adelae F. Muell. ที่เพาะเลี้ยงบนอาหารสูตร 1/4MS ที่เติม IBA 1.0 มิลลิกรัมต่อลิตร มีจำนวนรากมากที่สุด             In vitro plant regeneration and callus induction using leaf explants of two Sundew species, D. spathulata Labill. and D. adelae F. Muell. were examined on semi-solid MS media with varied strength of concentration, MS, 1/2MS, 1/3MS and 1/4MS, for 8 weeks. The result found that leaf explants of D. spathulata Labill. cultured on 1/4MS media could be induced shoot and flowering as well as the highest number of shoot and inflorescences. While the leaf explants cultured on 1/2MS media could be induced the root production with the highest of root number and root length. For the leaf explants of D. adelae F. Muell. cultured on 1/4MS media, they could be induce shoots and roots production with the highest number of shoot and root. To induce callus, the leaf explants were cultured on 1/4MS medium with varied 0, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 mg/l BA, for 8 weeks. The leaf explants of both species cultured on 1/4MS media with 0.5 mg/l BA gave the best development of callus with the longest diameter and the highest fresh weight of callus, while the leaf explants cultured on 1/4MS media without BA could be induced shoots and root production. When new shoot were cultured on the 1/4MS media with 0, 0.5, 1.0, 1.5 and 2.0 mg/l IBA, for 6 weeks, the shoot of D. spathulata Labill. cultured on 1/4MS with 1.5 mg/l IBA had the highest number of root. While the shoot explants of D. adelae F. Muell. culturing on 1/4MS media containing 1.0 mg/l IBA had the highest number of root.

Downloads