การขยายพันธุ์หญ้าหวานโดยการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในระบบแช่ชั่วคราว
Keywords:
หญ้าหวาน, การขยายพันธุ์, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช, ระบบแช่ชั่วคราวAbstract
การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการขยายพันธุ์หญ้าหวานด้วยระบบแช่ชั่วคราว (TIS) ได้แก่ ปัจจัยแรก คือ ความถี่ในการเติมอาหารโดยการนำชิ้นส่วนข้อของหญ้าหวานไปเลี้ยงในระบบ TIS แบบ TIG โดยเติมอาหารเหลวสูตร MS ร่วมกับ Kinetin 3 mg/L ครั้งละ 3 นาที ทุก ๆ 3, 4, 6, 8 และ 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าชุดการทดลองที่เติมอาหารทุก ๆ 3 ชั่วโมง มีน้ำหนักแห้งเฉลี่ยสูงที่สุด คือ 40.8 mg และให้จำนวนยอดเฉลี่ยมากที่สุด คือ 3.6 ยอดต่อชิ้นเนื้อเยื่อ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 จากนั้นจึงศึกษาปัจจัยที่สอง คือ ระยะเวลาในการเติมอาหาร โดยเติมอาหารทุก ๆ 3 ชั่วโมง ครั้งละ 1, 3, 5, 7 และ 10 นาทีต่อครั้ง ทุก ๆ 3 ชั่วโมง ทำการเพาะเลี้ยงในระบบ TIG เป็นเวลา 4 สัปดาห์ พบว่าชุดการทดลองที่เติมอาหารครั้งละ 3 นาทีจะให้น้ำหนักแห้ง และจำนวนยอดสูงกว่าชุดการทดลองอื่น ๆ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 คือ 40.5 mg และ 3.6 ยอดต่อชิ้นเนื้อเยื่อ ตามลำดับ จากนั้นจึงทำการเปรียบเทียบการเพาะเลี้ยงในระบบ TIG โดยเติมอาหารครั้งละ 3 นาที ทุก ๆ 3 ชั่วโมง กับการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลวบนเครื่องเขย่าความเร็ว 110 รอบต่อนาที และการเพาะเลี้ยงบนอาหารวุ้น โดยให้แสง 16 ชั่วโมงต่อวัน ที่อุณหภูมิ 25ºC เพาะเลี้ยงเป็นเวลา 4 สัปดาห์ ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าการเพาะเลี้ยงในระบบ TIG จะทำให้ได้น้ำหนักแห้งเฉลี่ยมากที่สุด คือ 40.5 mg ซึ่งมากกว่าการเพาะเลี้ยงในอาหารเหลว และอาหารวุ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ในขณะที่การเพาะเลี้ยงในระบบ TIG และอาหารวุ้นให้จำนวนยอดเฉลี่ยไม่แตกต่างกันทางสถิติ คือ 3.6 และ 3.1 ยอดต่อชิ้นเนื้อเยื่อตามลำดับ และอาหารเหลวทำให้เกิดจำนวนยอดเฉลี่ยได้น้อยที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ดังนั้นการเพาะเลี้ยงชิ้นส่วนข้อของหญ้าหวานในระบบ TIG จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการประยุกต์ใช้เพื่อการผลิตต้นอ่อนหญ้าหวานในระดับอุตสาหกรรมต่อไป The aim of this study was to evaluate the temporary immersion bioreactor in multiplication of Stevia. The first factor was the immersion frequencies. Nodal explants were fed with liquid MS medium for 3 minutes each 3, 4, 6, 8 and 12 hours. Cultivate for 4 weeks. It was found that the 3 hours immersion frequency had the highest average dry weight of 40.8 mg and the highest average shoot number was 3.6 shoots per explant with statistically significant difference at 0.05. To study effects of immersion time in TIG. Cultures were immersed in medium for 1, 3, 5, 7 and 10 minutes, every 3 hours in TIG for 4 weeks. It was found that the 3 minutes immersion time showed the highest average dry weight and the average number of shoots with significantly difference higher than the other treatments, 40.5 mg and 3.6 shoots per explant respectively. To compared of different in vitro micro propagation methods of Stevia. In vitro explants were cultured in TIG by 3 hours immersion frequency with a 3 minutes immersion, liquid medium at 110 rpm speed shaker and agar medium in light condition 16 hours per day at 25°C cultured for 4 weeks. The results show that the cultured in the immersion system showed the highest average dry weight 40.5 mg which more than cultured in liquid medium and agar medium with statistically significant difference at 0.05. While, cultivation in TIG and agar medium provides a nonsignificant difference in the average number of 3.6 and 3.1 shoots per explant and liquid medium produced the lowest average number of shoots with statistically significant difference at 0.05. Therefore, the cultivation of stevia explant in TIG which is an alternative to application for the production of stevia at the industrial level.Downloads
Issue
Section
Articles