ผลของพืชสมุนไพรต่อภูมิคุ้มกันและการเจริญเติบโตของปลา

Authors

  • ชนกันต์ จิตมนัส
  • โฉมอนันต์ โพธิวงค์
  • ชาญวิทย์ สุวรรณ์
  • พงศกร น้อยมูล
  • ภัคธีมา ยาวิชัย
  • สายสุนีย์ จิตมโนวรรณ์

Keywords:

สารกระตุ้นภูมิคุ้มกัน, พืชสมุนไพร, สัตว์น้ำ, ภูมิคุ้มกันสัตว์น้ำ

Abstract

          มีการใช้พืชสมุนไพรป้องกันและรักษาโรคสำหรับมนุษย์เป็นเวลานาน แต่การใช้สมุนไพรในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมียังไม่แพร่หลาย บทความนี้เป็นการรวบรวมงานวิจัยเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรสดและ สารสกัดเพื่อเพิ่มการเจริญเติบโต ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันและป้องกันโรคในสัตว์น้ำ โดยดูว่ามีผลต่อภูมิคุ้มกัน เช่น ค่าการจับกิน สิ่งแปลกปลอม การทำงานของคอมพลีเมนต์ การทำงานของไลโซไซม์ ซึ่งแต่ละส่วนของพืช ไม่ว่าจะเป็นเมล็ด ราก ดอกและใบ จะมีสารสำคัญแตกต่างกัน ทำให้ได้ผลต่างกัน นอกจากนี้ปริมาณ วิธีการให้และระยะเวลาที่ใช้มีผลต่อการกระตุ้นภูมิคุ้มกันต่างกัน พืชบางชนิดมีราคาถูกแต่มีโปรตีนสูงจึงสามารถนำมาเป็นส่วนผสมอาหารแทนปลาป่นได้ สมุนไพรมักจะนำมาใช้ในรูปแบบการผสมอาหารตั้งแต่ 0.1 – 5% นาน 7 – 60 วัน มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายเชิงพาณิชย์แต่ยังไม่มีข้อมูลผลของประสิทธิภาพที่ได้จากฟาร์มมากนัก           Herbs have been applied for immune stimulation and disease prevention for years. However, the application of them as alternatives for chemicals and antibiotics in aquaculture business is still insignificant. This article aimed to review the research of the use of medicinal plants for growth improvement, prevention and treatment of fish diseases. As each parts of plants provides the different active ingredients, the outcomes are dissimilar. The dosages, administration methods, and duration are important factors affecting immunity. Some plants are inexpensive but high protein which are possibly suitable to replace fishmeal. Oral administration as an additive feed is the most practical and preferable method ranging from 0.1 – 5% for 7 – 60 days. The commercial products have been developed; however, the effective results from farms are limited.

Downloads