ผลของอาหารเสริมโพรไบโอติก แลคโตบาซิลลัส แพลนทารัม T13 ต่อความสามารถในการเติบโตและกิจกรรมของเอนไซม์ต่อกุ้งขาว

Authors

  • สิรวิชญ์ สร้อยแก้ว
  • หริศ หริรัตนกุล
  • โชคชัย เหลืองธุวปราณีต
  • มนทิรา ลีลาเกรียงศักดิ์

Keywords:

โพรไบโอติก, กุ้งขาว, เอนไซม์ย่อยอาหาร

Abstract

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโพรไบโอติก Lactobacillus plantarum T13 ต่อความสามารถในการเติบโตและกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยอาหารของกุ้งขาว โดยใช้อาหารกุ้งทางการค้าทั่วไปเสริมโพรไบโอติก 2 ความเข้มข้น ได้แก่ 109 CFU g-1 (A) และ 105 CFU g-1 (B) อาหารกุ้งเสริมโพรไบโอติกถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิ 4 องศาเซลเซียส และเตรียมใหม่ ทุก ๆ สัปดาห์ ปรับสภาพกุ้งขาวระยะ P15 เป็นเวลา 10 วัน น้ำหนักเริ่มต้นเฉลี่ย 0.015 ± 0.0016 กรัม โดยแบ่งเป็น 3 ชุด การทดลอง คือชุดควบคุม (C) และอีก 2 ชุดการทดลองคือกุ้งที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมโพรไบโอติก (A และ B) ทดลอง 3 ซ้ำ เป็นเวลา 8 สัปดาห์ โดยตรวจและจัดการคุณภาพน้ำทุกสัปดาห์ เพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่ยอมรับของการเพาะเลี้ยง เมื่อเปรียบเทียบกุ้งที่ได้รับอาหารเสริมโพรไบโอติก กับชุดควบคุม พบว่าน้ำหนักสุดท้าย น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น และกิจกรรมของเอนไซม์โปรตีเอส แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) สำหรับชุดทดลอง A มีอัตราแลกเนื้อ (2.03±0.15) และอัตราการเติบโตจำเพาะ (9.48±0.14) แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อเทียบกับชุดควบคุม แต่ไม่แตกต่างจากชุดทดลอง B อย่างไรก็ตาม อัตราการรอดชีวิต และกิจกรรมของเอนไซม์อะไมเลส ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P>0.05) ในการทดลองทั้ง 3 ชุด การศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าโพรไบโอติก L. plantarum T13 ที่ความเข้มข้น 109 CFU g-1 สามารถเพิ่มความสามารถในการเติบโตและกิจกรรมของเอนไซม์โปรตีเอสในกุ้งขาวได้           This study aimed to investigate the effect of dietary probiotics Lactobacillus plantarum T13 on growth performance and digestive enzyme activity of Pacific white shrimp. Two concentrations of T13 were prepared and mixed with commercial shrimp feed to give final concentrations of approximately 109 CFU g-1 (A) and 105 CFU g-1 (B). Probiotic shrimp feeds were stored at 4°C and was prepared fresh every week. P15 shrimp, L. vannamei, were acclimated for 10 days with the average initial weight of 0.015 ± 0.0016 g and were divided into three groups: control (C) and two treatments fed with probiotic shrimp feed (A and B). The experiment was conducted in triplicate for eight weeks. During the experiment, weekly water quality was monitored and managed to maintain the acceptable aquaculture conditions. In comparison to the control group, final weight, weight gain and protease activity were significantly higher in shrimp fed with probiotics (P<0.05). Significant differences (P<0.05) for feed conversion ratio (2.03±0.15) and specific growth rate (9.48±0.14) in treatment A were observed as compared with the control but not with treatment B. However, no significant differences (P>0.05) were detected for survival rate and amylase activity among all experimental groups. Our study demonstrated that probiotic L. plantarum T13 at the concentration of 109 CFU g-1 could improve growth performance and protease activity of Pacific white shrimp.

Downloads