สรรพคุณทางยา สารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของพืชสมุนไพรไทยบำรุงน้ำนมบางชนิด

Authors

  • ประไพรัตน์ สีพลไกร
  • รัตนาภรณ์ ตรัยสถิต

Keywords:

สมุนไพรบำรุงน้ำนม, กาแลคโตโกกูว์, สมุนไพร, สรรพคุณทางยา, นมน้อย, นมควาย, กระทิงลาย, ลิ้นกวาง, ช้างน้าว, galactogogue

Abstract

         พืช เป็นแหล่งของปัจจัยสี่ คือ อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่มและยารักษาโรค ในแง่ของการเป็นยารักษาโรคมีประวัติการใช้สมุนไพรในการรักษาโรคมาอย่างยาวนานในพื้นที่ต่างๆ ทั่วโลก นับเป็นภูมิปัญญาชาวบ้านที่ตกทอดจากคนรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่งในชุมชน การที่สมุนไพรมีสรรพคุณในการรักษาโรคได้เนื่องจากสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิที่พืชผลิตขึ้นนั้นมีฤทธิ์ทางชีวภาพ สมุนไพรบำรุงน้ำนมเป็นอีกหนึ่งกลุ่มของสมุนไพรที่แม่ให้นมบุตรยังคงมีการใช้อยู่ในปัจจุบันเพื่อเพิ่มปริมาณน้ำนม สมุนไพรบางชนิดเหล่านี้ได้รับความสนใจและมีการศึกษากันอย่างกว้างขวางถึงฤทธิ์ทางชีวภาพและสารเมแทบอไลต์ทุติยภูมิ ในบทความวิชาการนี้ได้กล่าวถึงลักษณะทางพฤกษศาสตร์ สรรพคุณทางยาของพืชสมุนไพรตามตำรับโบราณ สารเมแทบอไลต์ ทุติยภูมิและฤทธิ์ทางชีวภาพของสมุนไพรบำรุงน้ำนม 5 ชนิด คือ นมน้อย (Polyalthia evecta) นมควาย (Uvaria rufa) กระทงลาย (Celastrus paniculatus) ลิ้นกวาง (Diospyros ehretioides) และช้างน้าว (Ochna integerrima) เนื่องจากใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาพื้นบ้านที่ใช้ในโรงพยาบาลรวมถึงมีสารองค์ประกอบทางเคมี ที่น่าสนใจ ข้อมูลเหล่านี้นับเป็นประโยชน์อย่างมากในการนำใช้สมุนไพรไปใช้เชิงการรักษา ส่งเสริมสุขภาพหรือข้อมูลความปลอดภัยที่จะช่วยให้เราเข้าใจและใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่นเหล่านี้อย่างคุ้มค่าและยั่งยืนมากที่สุด              Plants are the sources of the four basic needs; food, shelter, clothing and medicine. In terms of being a medicine, medicinal plants have long been used in history to treat diseases in every parts of the world. It is a folk wisdom that has passed from one generation to another in the communities. The medicinal properties of the medicinal plants are due to their productions of active secondary metabolites. Medicinal plant-derived galactogogue is a group of those medicinal plants that breastfeeding mother use in now a day in order to increase breast milk production. Some of these medicinal plant-derived galactogogues have received attention and extensively studies on their biological activities and secondary metabolites. In this article, botanical characteristics, plant medicinal properties based on traditional uses, secondary metabolites and biological activities of 5 galactogogue medicinal plants; Polyalthia evecta, Uvaria rufa, Celastrus paniculatus, Diospyros ehretioides and Ochna integerrima, have been reviewed according to their uses as ingredients in traditional recipes in hospital and their remarkable chemical constituents. This information is very useful in the utilization of this group of plants for medical purposes, health promotion or safety information which leading us to understand and use these local resources in the most-cost effective and sustainable ways.

Downloads