การประเมินศักยภาพเชิงพื้นที่ในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน : กรณีศึกษาจังหวัดสงขลา

Spatial Assessment for Coal Fire Power Plant: A Case Study of Songkla Province

Authors

  • ศุภกร เทกมล
  • จุฑารัตน์ ชมพันธุ์
  • จำลอง โพธิ์บุญ

Abstract

ในปัจจุบันพื้นที่ภาคใต้มีความเสี่ยงด้านพลังงานไฟฟ้า เนื่องจากมีความต้องการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยจังหวัดสงขลาเป็นจังหวัดที่มีการใช้ไฟฟ้าสูงสุดในภาคใต้ ดังนั้น รัฐบาลจึงควรพิจารณาการสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มในจังหวัดสงขลา การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอพื้นที่และแนวทางการจัดการที่เหมาะสมในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลา งานวิจัยชิ้นนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพโดยใช้กระบวนการประเมิน ผลกระทบสิ่งแวดล้อมเชิงพื้นที่ (Regional Environmental Assessment : REA) มีเกณฑ์ที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม สังคม เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี จากนั้นให้ค่าน้ำหนักด้วยกระบวนการลำดับชั้นเชิงวิเคราะห์ (Analytic Hierarchy Process : AHP) ร่วมกับการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key informants) เพื่อรับฟังความคิดเห็น ผลจากการศึกษาพบว่า ตำบลสะบ้าย้อย อำเภอสะบ้าย้อย เป็นพื้นที่ที่เหมาะสมที่สุดในการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้เป็นไปตามหลักเกณฑ์การพิจารณา อย่างไรก็ตาม ประชาชนในพื้นที่มีความกังวลเกี่ยวกับมลพิษที่อาจจะเกิดขึ้นจากการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน และการสูญเสียพื้นที่กรรมสิทธิ์ เพื่อความสำเร็จในการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินในจังหวัดสงขลานั้น จำเป็นจะต้องมีการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ภาคประชาชน และสร้างความเข้าใจและการส่วนร่วมในการตัดสินใจในโครงการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวจะสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งของโครงการนี้ได้                The southern of Thailand has faced the risk of electricity shortage because of the continuously high demand. Songkhla province has the most electricity consumption, thus the government should develop the power plant in Songkla. This research aimed to present a suitable area and suggested approaches to manage the construction of a coal fire power plant in Songkla. This research is a qualitative research based on the Regional Environmental Assessment (REA). The concerned criteria were environmental, social, economic, and technology. The Analytic Hierarchy Process (AHP) was employed as the methodological tool for weighing the criteria, and data were collected through in-depth interviews with key informants for the public hearing. The result showed that Tambon Sabayoi, Amphoe Sabayoi, is a suitable area for power plant construction because it meets with most of the investigated criteria. However, local people still worried about the pollution and loss of domain. To be successful, the government must increase the public confidence level, and the public should have sufficient knowledge and understanding about the project, be allowed to participate in the decision-making process. It should be done in order to resolve the problem of the project.

Downloads

Published

2022-11-28