การตายของหอยมุกกัลปังหา (Pteria penguin, Roding, 1798) จากการติดแกนมุกและวิธีการเลี้ยง

Mortality of Winged Pearl Oysters, Pteria penguin (Roding, 1798) Caused by Nucleation and Rearing

Authors

  • กรรนิการ์ กาญจนชาตรี
  • กนกธร ปิยธำรงรัตน์
  • ละม้าย ทองบุญ
  • จิตติ อินทรเจริญ

Keywords:

หอยมุกกัลปังหา , วิธีการเลี้ยงหอยมุก ก, การติดแกนมุก , อัตราการตายของหอยมุก

Abstract

สาเหตุการตายของหอยมุกกัลปังหาต้องศึกษาหลายๆ สาเหตุด้วยกันเพื่อบ่งชี้สาเหตุที่แน่นอน จากการทดลองใช้หอยมุกกัลปังหา จำนวน 2,400 ตัวบริเวณอ่าวสะปำ จังหวัดภูเก็ต ในปี 2550 สาเหตุแรกการตายของหอยมุกจากการใส่แกนมุกโดยแบ่งออกเป็น 2 ปัจจัย ปัจจัยแรกหอยมุกที่ตายจากการใส่แกนมุกมีขนาดต่างกันคือขนาด 10 มม. และ 18 มม. พบว่าอัตราการตายเฉลี่ยเป็น 63.17% และ 69.17% ผลผลิตมุกที่ได้เฉลี่ยเป็น 36.83% และ 30.83% ตามลำดับ ปัจจัยที่สองหอยมุกที่ตายจากการติดแกนมุกจำนวนต่างกันคือติดแกนมุกขนาด 10 มม. ตัวละ 1 แกน ตัวละ 2 แกน (ติดฝาละ 1 แกน) และตัวละ 4 แกน (ติดฝาละ 2 แกน) พบมีอัตราการตายเฉลี่ยเป็น 63.16%, 64.66% และ 68.83% ผลผลิตมุกที่ได้เป็น 36.83% 70.60% และ 124.62% ตามลำดับ ส่วนสาเหตุที่ 2 ศึกษาสาเหตุการตายของหอยมุกกัลปังหาจากวิธีการเลี้ยงหอยมุก พบว่าการเลี้ยงโดยการแขวนหอยมุก 5 ตัว 8 ตัวด้วยเชือก และเลี้ยงในกะบะเหล็ก พบอัตราการตายเฉลี่ยเป็น 56.87% 62.00% และ 79.37% ได้ผลผลิตมุกเฉลี่ย 86.87% 70.62% และ 41.25% ตามลำดับ แต่อย่างไร ก็ตามขนาดของแกนมุกไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความเชื่อมั่น 95% (P > 0.05)   Factors affecting mortality of Winged pearl oysters, Pteria penguin (Roding, 1798) were studied in order to clarify the certain causes by rearing the 2,400 Winged pearl oysters in Sapam Bay Phuket 2007. Firstly, two effects of the oysters’ nucleation were investigated: nucleus size and nucleus number. Comparing between nucleus sizes of 10 mm. and 18 mm., the mortality rates were 63.17% and 69.17% while obtained pearl productivity were 36.83% and 30.83%, respectively. According to the inserted number of 10 mm. nuclei, the pearl oysters were nucleated with 1, 2 (one for each shell side) and 4 nuclei (two for each side). The resulte showed that the mortality rates were 63.16%, 64.66% and 68.83% while pearl productivity were 36.83%, 70.60% and 124.62, respectively. Further effects that caused the oysters’ death were rearing methods: the oyster suspension with strings and rearing in the iron tray. The resulted mortality rates of the pearl oysters were 56.87%, 62.00% and 79.37% while pearl productivity were 86.87%, 70.62% and 41.25%, respectively. However, the nuclei diameters were not significantly different (P > 0.05)

References

กรรนิการ์ กาญจนชาตรี กนกธร ปิยธำรงรัตน์ และนิกร อินทรเจริญ. (2546). ผลของความลึกของระดับน้ำทะเลและขนาดของหอยมุกกัลปังหา (Pteria penguin) ต่อการเกิดมุก. วารสารสงขลานครินทร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 25(5), 659-67.

กรรนิการ์ กาญจนชาตรี กนกธร ปิยธำรงรัตน์ และปิยะพงศ์ แก้วตีน. (2549). ผลของสารสลบก่อนการใส่แกนมุกต่ออัตรารอดและคุณภาพมุกในหอยมุกแกลบ Pinctada fucata. วารสารสงขลานครินทร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 28(1), 87-97.

กรรนิการ์ กาญจนชาตรี กนกธร ปิยธำรงรัตน์ และจิตติ อินทรเจริญ. (2550). ชนิดของแกนมุก (nucleus) เพื่อเพิ่มคุณภาพของมุกที่ผลิตได้จากหอยมุกแกลบ Pinctada fucata. วารสารสงขลานครินทร์วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 1-15.

Acosta-Salmon, H., Martinez-Fernandez, E. & Southgate, P.C., (2005). Use of relaxants to obtain saibo tissue from the blacklip pearl oyster (Pinctada margaritifera) and the Akoya pearl oyster Pinctada fucata. Aquaculture, 246, 167-172.

Acosta-Salmon, H. & Southgate, P.C. (2005). Mantle regeneration in the pearl oysters Pinctada fucata and Pinctada margaritifera. Aquaculture, 246, 1-4.

Dan, H. (2003). Fresh water pearl culture and production in China. Journal of Shellfish Research, 22(1), 325.

Knauer, J. & Taylor, J.U. (2002). Assessment of external growth parameter of the silver-or goldlip pearl oyster Pinctada maxima as indicators of the required pearl nucleus size. South Pacific Commission Pearl Oyster Information Bulletin, 15, 36.

Kripa, V., Mohamed, K.S., Appukuttan, K.K. & Velayudhan, T.S. (2007). Production of Akoya pearls from the southwest coast of India. Aquaculture, 262, 347-354.

Milke, L.M. & Ward, J.E. (2003). Influence of diet on preingestive particle processing in bivalves. II: Residence time in the pallial cavity and handling time on the labial palps. Journal of Experimental Marine Biology and Ecology, 293, 151-172.

Ruiz-Rubio, H., Acosta-Salmon, H., Olivera, A., Southgate, P.C. & Rangel-Davalos, C. (2006). The influence of culture method and culture period on quality of half-pearls (mabe) from the winged pearl oyster Pteria sterna, Gould, 1851. A quaculture, 254, 269-274.

Downloads

Published

2023-02-23