ผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของไข่ในปูม้า (Portunus pelagicus) เพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง

Effect of Salinity on Egg Volume of Ovigerous Female Blue Swimming Crab (Portunus pelagicus Linnaeus, 1758)

Authors

  • นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร
  • ศุภางค์ ชำปฏิ

Keywords:

ปูม้า, ไข่นอกกระดอง, ความเค็ม, ปริมาตรของไข่

Abstract

ทำการศึกษาผลของความเค็มต่อการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของไข่ในปูม้าเพศเมียที่มีไข่นอกกระดองในระยะต่างๆ พบว่าไข่ปูม้าในระยะสุดท้ายหรือไข่แก่จะมีความสามารถในการควบคุมสมดุลของน้ำและอิออนได้ดีกว่าไข่ระยะแรกหรือไข่อ่อน ไข่ปูม้าที่ระยะหัวใจเต้นมีความสามารถในการควบคุมการเข้าออกของน้ำและอิออนได้ดีที่สุด คือสามารถปรับตัวได้ที่ระดับความเค็มตั้งแต่ 20-40 พีเอสยู รองลงมาคือ ระยะเกิดจุดตาและเม็ดสีสามารถปรับตัวได้ที่ระดับความเค็ม 25-35 พีเอสยู ระยะคลีเวจและบลาสตูลามีความสามารถในการควบคุมเข้าออกของน้ำและอิออนได้น้อยที่สุด คือสามารถปรับตัวได้ที่ระดับความเค็ม 30-35 พีเอสยู     Studies on effect of salinity on volume change in different stages of eggs of ovigerous female blue swimming crabs. It has been found that late stage eggs had abilities to osmoregulate better than early stage eggs. Crab egg at the heart-beating stage showed the best osmoregulator as they can osmoregulate and survive in salinity 20-40 psu. Egg at the eyespot and pigmentation stages can osmoregulate and survive in salinity 25-35 psu. Egg at the cleavage and blastula stages was the weakest osmoregulator as they can osmoregulate and survive in salinity 30-35 psu.

References

กรมประมง. (2548). สถิติการประมงแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2546. เอกสารฉบับที่ 6/2548 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์, 91 หน้า.

กรุณา สัตตมาศ. (2532). การอนุบาลลูกปูม้าวัยอ่อนให้มีอัตราการรอดสูง. เอกสารวิชาการฉบับที่ 2. กลุ่มพัฒนาแหล่งประมงศูนย์พัฒนาประมงทะเลฝั่งอันดามัน. กองประมงทะเลกรมประมง. กรุงเทพฯ: เขียน สินอนุวงศ์. (2520). การศึกษาชีววิทยาของปูม้า Portunus pelagicus (Linaeus). ในอ่าวไทย. รายงานวิชาการ ฉบับที่ 14/2520. งานสัตว์น้ำอื่นๆ กองประมงทะเล. กรมประมง. กรุงเทพฯ:

นงนุช ตั้งเกริกโอฬาร และศุภางค์ ชำปฏิ. (2550). พัฒนาการของคัพภะและระยะเวลาของการฟักไข่ในปูม้าเพศเมียที่มีไข่นอกกระดอง. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา, 12(2), 55-62.

บรรจง เทียนส่งรัศมี. (2549). ปูม้า สัตว์เศรษฐกิจฟื้นฟูชีวิตชาวประมง. วารสารอัพเดท, 37-46.

El-Sherief, S.S. (1993). Histochemical characteristics of the egg membranes of Portunus pelagicus (L.). Acta Biologica Hungarica, 44(2-3), 269-280.

Fletcher, C.R. (1974). Volume Regulation in Neries diversicolor- III. adaption to a reduce salinity. Comparative Biochemistry and Physiology, 47A, 1221-1234.

Gilles, R. (1983). Volume maintenance and regulation in animal cells : Some features and trends. Molecular Physiology, 4, 3-16.

Leelapiyanart, N. (1996). Ecophysiology Studies on Developing and Ovigerous Females of Intertidal Crabs. Thesis submitted in fulfillment on the requirements for degree of doctor of physiology in Zoology, University of Cantubery. New Zealand.

Louis, F. & Gainey, JR. (1994). Volume regulation in tree spicies of marine mussels. Journal of experimental Marine Biology and Ecology, 181, 201-211.

Downloads

Published

2023-02-23