การกำจัดสีเมทิลเรดด้วยการดูดซับ/วิธีทางชีวภาพ

Removal of Methyl Red Color Employing Adsorption/Biological Treatments

Authors

  • สุดสายชล หอมทอง
  • นเรศ เชื้อสุวรรณ
  • สุบัณฑิต นิ่มรัตน์

Keywords:

สีเมทิลเรด , การดูดซับ , แอโรบิก , แอโรบิกดีไนทริฟิเคชัน

Abstract

ในการศึกษาครั้งนี้ได้ทำการศึกษาการบำบัดสีเมทิลเรดความเข้มข้น 0.1 มิลลิโมลาร์ ด้วยวิธีการดูดซับต่อเนื่องด้วยการย่อยสลายด้วยวิธีทางชีวภาพ ผลการทดลองพบว่าถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพในการกำจัดความเข้มของสี (จากระดับ 0 ลดเหลือระดับ 8) และลดค่าซีโอดีได้ร้อยละ 49.19 จากนั้นนำสารจากการกรองในขั้นตอนดังกล่าวที่มีค่าซีโอดีเท่ากับ 1,095±45 มิลลิกรัมต่อลิตร มาทำการบำบัดต่อเนื่องด้วยตะกอนเร่งภายใต้สภาวะแอโรบิกและสภาวะแอโรบิกดีไนทริฟิเคชัน ผลที่ได้พบว่าตะกอนเร่งทั้งสองสภาวะไม่สามารถ ลดค่าซีโอดีของสารจากการกรองด้วยถ่านกัมมันต์ได้ แต่กลับมีค่าซีโอดีเพิ่มขึ้นตามระยะเวลาของการทดลอง 10 วัน จากการศึกษาครั้งนี้สามารถสรุปได้ว่าการกำจัดสีเมทิลเรดความเข้มข้น 0.1 มิลลิโมลาร์ ด้วยวิธีการดูดซับด้วยถ่านกัมมันต์มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูงแต่การย่อยสลายด้วยตะกอนเร่งภายใต้ทั้ง 2 สภาวะไม่สามารถลดค่าซีโอดีได้ตลอดระยะการทดลอง รวมทั้งในวันสุดท้ายของการทดลอง พบว่าในตะกอนเร่งทั้ง 2 สภาวะมีค่าของแข็งแขวนลอยลดลงเพียงเล็กน้อย ปริมาณของแข็งละลายน้ำมีปริมาณลดลงแต่ยังสูงกว่า 200 mg/L ส่วนพีเอชลดลงจากเดิมคือ 6.72-6.73 เป็น 5.49 และ 5.96 ภายใต้สภาวะแอโรบิกและสภาวะอโรบิคดีไนทริฟิเคชันตามลำดับ นอกจากนั้นตะกอนเร่งภายใต้สภาวะแอโรบิกดีไนทริฟิเคชันมีปริมาณไนเทรตและไนไทรต์เปลี่ยนแปลงไม่มากนักตลอดระยะเวลาการทดลอง ดังนั้นสรุปได้ว่าวิธีการย่อยสลายด้วยตะกอนเร่งทั้ง 2 สภาวะยังไม่สามารถบำบัดสารสีที่ผ่านการบำบัดด้วยวิธีการดูดซับได้  The objective of the present study was to investigate the adsorption/biological treatment for 0.1 mM methyl red. Results showed that the adsorption process using activated carbon was capable of removing color intensity of methyl red (from score 0 to score 8) and reducing COD by 49.19%. COD of the filtrate from the adsorption treatment was 1,095±45 mg/L and was used for further studied for biodegradation by aerobic and aerobic denitrifying activated sludges. Results showed that two cultures were not able to reduce COD but increased the COD values within 10 days of the experiment. Results concluded that it is relatively effective in removal of 0.1 mM methyl red by adsorption treatment. In contrast, two biological treatments in this study showed no efficiency for COD removal of the filtrate. At the end of the experiment, two cultures were able to slightly reduce the suspended solids. Furthermore, dissolved solids value also declined but it was still higher than 200 mg/L. The pH level decreased from 6.72-6.73 to 5.49 under aerobic and to 5.96 under aerobic denitrifying treatments, respectively. Under acclimated aerobic denitrifying cultures, nitrate and nitrite values were relatively slight fluctuation along the course of experiment. As a consequence, the adsorption/biological treatment showed no efficiency for 0.1 mM methyl red removal.  

References

ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และอุษา วิเศษสุมน. (2535). คู่มือวิเคราะห์น้ำเสีย. กรุงเทพฯ: สมาคมวิศวกรสิ่งแวดล้อม และ World environment center.

นฤมล ศิริทรงธรรม. (2539). เทคโนโลยีในการบำบัดน้ำเสียในโรงงานอุตสาหกรรมฟอกย้อมสิ่งทอ. วารสารคัลเลอร์เวย์, 2(10), 45-53.

ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2539) ลงวันที่ 3 มกราคม 2539 เรื่องกำหนดมาตรฐานควบคุมการระบายน้ำทิ้งจากแหล่งกำเนิดประเภทโรงงานอุตสาหกรรมและนิคมอุตสาหกรรมตีพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 113 ตอนที่ 13 ลงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2539

สุดสายชล หอมทอง และสุบัณฑิต นิ่มรัตน์. (2551). การพัฒนาระบบบำบัดสีกลุ่มอะโซด้วยวิธีผสมผสาน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฎสุราษฎร์ธานี, 1(1),101-112.

สุบัณฑิต นิ่มรัตน์. (2548). จุลชีววิทยาของน้ำเสีย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์.

APHA, AWWA & WPCF (1995). Standard methods for the examination of water and wastewater, 19th Edition. APHA, Inc., New York.

Brown, D. & Laboureur, P. (1983). The degradation of dyestuffs: Part I – primary biodegradation under anaerobic conditions. Chemosphere, 12(3), 397-404.

Chen, B-Y. (2002). Understanding decolorization characteristics of reactive azo dyes by Pseudomonas luteola: toxicity and kinetics. Process Biochemistry, 38, 437-446.

Chescerl L.S., Greenberg A.E. & Eaton A.D. (1998). Standard methods for the examination of water and wastewater, 20th Edition. APHA, Washington, D.C.

Gopinath, K.P., Sahib, H.A.M., Muthukumar, K., & Velan, M. (2009). Improved biodegradation of congo red by Bacillus sp. Bioresource Technology, 100, 670-675.

Downloads

Published

2023-02-23