ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบก บริเวณภูเขาหินปูน และภูเขาหินทรายในจังหวัดหนองบัวลำภู

Species Diversity and Abundance of Land Snails in Limestone and Sandstone Hills in Nong Bua Lamphu Province

Authors

  • ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ
  • ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ

Keywords:

หอยทากบก , ความหลากชนิด , ความชุกชุม , ที่ราบสูงโคราช , จังหวัดหนองบัวลำภู

Abstract

ผลการศึกษาเปรียบเทียบความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกบริเวณภูเขาหินปูน และภูเขาหินทรายในจังหวัดหนองบัวลำภู ด้วยแปลงสุ่มตัวอย่างขนาด 20x20 เมตร จำนวน 6 แปลง พบหอยทากบกทั้งหมด 22 ชนิด แบ่งเป็น 3 ชั้นย่อย  (Subclass) ได้แก่ Prosobranchia Pulmonata และ Gymnomorpha จำนวน 8, 13 และ 1 ชนิดตามลำดับโดย บริเวณภูเขาหินปูน พบ 20 ชนิด บริเวณภูเขาหินทราย พบ 7 ชนิด บริเวณภูเขาหินปูน 3 แหล่งศึกษา มีค่าสัมประสิทธิ์ความหลากชนิด เท่ากับ 0.675, 2.290 และ 1.760 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ความเด่น เท่ากับ 0.655, 0.127, 0.271 ตามลำดับ บริเวณภูเขาหินทราย 3 แหล่งศึกษา ค่าสัมประสิทธิ์ความหลากชนิดเท่ากับ 1.449, 1.414 และ 1.433 ตามลำดับ และค่าสัมประสิทธิ์ความเด่นมีค่าเท่ากับ  0.283, 0.280 และ 0.265 ตามลำดับ พบว่าเมื่อเปรียบเทียบความคล้ายคลึงของชนิดของหอยทากบกในแต่ละบริเวณที่เก็บตัวอย่างของภูเขาหินปูนแต่ละที่มีความคล้ายคลึงของชนิดอยู่ในช่วง 0.38-0.69 ในขณะที่เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างบริเวณที่เก็บตัวอย่างของภูเขาหินทรายด้วยกัน มีความคล้ายคลึงของชนิดอยู่ในช่วง 0.72-1.0 และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างภูเขาหินปูนกับภูเขาหินทรายพบว่ามีค่าสัมประสิทธิ์ความคล้ายคลึงของชนิดอยู่ในช่วง 0-0.42  ในจำนวนหอยทากบกทั้งหมดที่พบมี 15 ชนิด พบเฉพาะบริเวณภูเขาหินปูน ซึ่งบริเวณดังกล่าวอยู่นอกที่ราบสูงโคราช 2 ชนิด พบเฉพาะในเขตภูเขาหินทราย บนที่ราบสูงโคราช และ 5 ชนิดพบทั้งในบริเวณภูเขาหินปูนและภูเขาหินทราย   The comparative studies of land snails diversity and abundance by 6 plots of 20x20 meters in Limestone and Sandstone hills of Nong Bua Lamphu Province were conducted. Twenty-two species of 3 subclasses were found, Eight, thirteen, and one species of land snails belong to Subclasses Prosobranchia, Pulmonata and Gymnomorpha, respectively. Twenty species were found in limestone hills and 7 species were found in sandstone hills. From 3 studied areas of limestone hills species diversity index were 0.675, 2.290 and 1.760, respectively and dominance index were 0.665, 0.127, and 0.271, respectively. In addition, 3 studied areas of sandstone hills, species diversity index were 1.449, 1.414 and 1.433, respectively, and dominance index were 0.283, 0.280 and 0.265, respectively.  The Sorensen’s similarity coefficient of land snails were 0.38-0.69, when compared among limestone hills, 0.72-1.0 when compared among sandstone hills, and 0-0.42 when compared among limestone hills and sandstone hills. Among overall founded land snails, fifteen species were found only in limestone hills outside the Khorat Plateau, two species were found only in sandstone hills on the Khorat Plateau, and five species were found in both limestone and sandstone hills.

References

ชนิดาพร วรจักร และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ. (2545). หอยทากบกในเขตจังหวัดกาฬสินธ์ุ. วารสารมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 21(2), 11-18.

ชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ และศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ (2553). ความหลากชนิดและความชุกชุมของหอยทากบกบริเวณ ภูทอกน้อย จังหวัดหนองคาย. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 29(3), 298-307

ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ และชนิดาพร ตุ้มปี่สุวรรณ (2551). แหล่งแพร่กระจายแห่งใหม่ในประเทศไทยและนิเวศวิทยาบางประการของหอยเม็ดมะค่า Pollicaria myersii (Haines, 1855). หมายเหตุนิเวศวิทยา, 2(2), 54-56.

ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ และสมศักดิ์ ปัญหา. (2543). ความ หลากหลายทางชีวภาพของหอยภูเขาสกุล Cyclophorus ของประเทศไทยและประเทศลาว. จุฬาวิจัย, 19(2), 15-17.

ศักดิ์บวร ตุ้มปี่สุวรรณ และสมศักดิ์ ปัญหา. (2546). อนุกรมวิธานและซิสเต็มมาติกส์ของหอยงวงท่อสกุล Rhiostoma Benson, 1860 ในประเทศไทย. ในวิสุทธิ์ ใบไม้ และ รังสิมา ตัณฑเลขา (บรรณาธิการ). รายงานการวิจัยใน โครงการ BRT 2546, (หน้า 144-153). กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัด โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.

Cameron, R.A.D., Mylonas, M., Triantis, K., Parmakelis, A., & Vardinoyannis, K. (2003). Land snail diversity in a square kilometre of Cretan Maquis: Modest species richness, high density and local homo-geneity. Journal of Molluscan Studies, 69, 93-99.

De Winter, A.J., & Gittenberger, E. (1998). The land snail fauna of a square kilometer patch of rainforest in southwestern Cameroon: high species richness, low abundance and seasonal fluctuations. Mala-cologia, 40(1-2), 231-250.

Kongim, B. (2005). Taxonomic and systematics of oper-culate land snails Genus Cyclophorus Montfort, 1810 in Thailand. Bangkok: Ph. D’s thesis. Depart-ment of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University.

Krebs, C.J. (1999). Ecological methodology. (2nd ed.) Califonia: Addison Wesley Longman, Inc.

Maneevong, A. (2000). Taxonomic revision of terrestrial snails Genera Macrochlamys, Cryptozona and Hemiplecta in Thailand. Bangkok: Master’s thesis. Department of Biology, Faculty of Science, Chulalongkorn University.

Downloads

Published

2023-02-23