ชนิดของอาหาร และระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารต่ออัตรารอดและการเจริญเตบิโตของกุ้งเมดซูาวัยอ่อน (Latreutes anoplonyx)

Effects of Different Feeding Regimes on Survival and Growth of Medusa Shrimp Larvae (Latreutes anoplonyx)

Authors

  • ศิรประภา ฟ้ากระจ่าง
  • วรเทพ มุธุวรรณ
  • ปรารถนา ควรดี
  • ดวงทิพย์ อู่เงิน
  • ชนะ เทศคง

Keywords:

ชนิดของอาหารและระยะเวลาการเปลี่ยนอาหาร , กุ้งเมดูซา, feeding regimes, medusa shrimp

Abstract

เพื่อศึกษาชนิดของอาหาร และระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารที่เหมาะสมต่ออัตรารอด และการเจริญเติบโตของกุ้งเมดูซาวัยอ่อน Latreutes anoplonyx เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในการอนุบาลลูกกุ้งเมดูซาให้มีการเจริญ เติบโตสูงขึ้น และมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วาเร็วขึ้น ด้วยโปรแกรมการให้อาหารต่างกัน 3 รูปแบบๆ ละ 3 ซ้ำ (CRD) โดยให้ลูกกุ้งระยะแรก ฟักกินแพลงก์ตอนพืช (Chaetoceros sp.) 1.5x105 เซลล์/มิลลิลิตร จนลูกกุ้งมีอายุ 10 วัน และเริ่มให้แพลงก์ตอนสัตว์เมื่อลูกกุ้งเริ่มกินแพลงก์ตอนสัตว์ เมื่ออายุ 11 วัน ไปจนลูกกุ้งมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา โดยชุดการทดลองที่ 1 ให้ลูกกุ้งกิน โรติเฟอร์เพียงชนิดเดียว (Brachionussp.) 5 เซลล์/มิลลิลิตร (T1 ) ส่วนชุดการทดลองที่ 2 ให้ลูกกุ้งกินโรติเฟอร์ 3 เซลล์/ มิลลิลิตร ผสมอาร์ทีเมีย (Artemiasp.) 1 เซลล์/มิลลิลิตร (T2 ) และชุดการทดลองที่ 3 ให้ลูกกุ้งกินโรติเฟอร์เพียงชนิดเดียว 5 เซลล์/มิลลิลิตร ไปจนลูกกุ้งมีอายุ 15 วัน แล้วปรับเปลี่ยนชนิดของอาหารมาเป็นอาร์ทีเมีย 1 เซลล์/มิลลิลิตร (T3 ) โดยใช้ตู้ทดลอง ขนาด 20x20x25 เซนติเมตร (กว้างxยาวxสูง) จำนวน 9 ตู้ ปริมาตรน้ำ 5 ลิตร ความเค็มเท่ากับ 30 ppt ปล่อยลูกกุ้ง ความหนาแน่น 3 ตัว/ลิตร ผลการวิจัยพบว่าชนิดของอาหาร และระยะเวลาการเปลี่ยนอาหารไม่มีผลต่ออัตรารอด และระยะพัฒนาการ แต่มีผลต่อการเจริญเติบโตของลูกกุ้ง โดยมีอัตรารอดเฉลี่ย (+SE) ร้อยละ 59.9+4.0, 66.7 +3.9 และ 66.7+6.7 ตามลำดับ (P>0.05) และการอนุบาลลูกกุ้งด้วย T3 มีความยาวเหยียดเมื่อสิ้นสุดการทดลองเฉลี่ย (+SE) มากที่สุด 6.20+0.00 มิลลิเมตร (P<0.05) และลูกกุ้งมีระยะพัฒนาการ ระยะซูเอีย 9 ระยะ แล้วเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา เมื่ออายุ 17, 15 และ 15 วัน ตามลำดับ (P<0.05) สรุปว่า ควรให้คีโตเซอรอสจนลูกกุ้งมีอายุ 10 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นโรติเฟอร์เพียงชนิดเดียวจนลูกกุ้งมีอายุ 15 วัน แล้วปรับเปลี่ยนเป็นอาร์ทีเมียจนลูกกุ้งมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วา เนื่องจากช่วยเพิ่มการเจริญเติบโตของลูกกุ้งให้สูงขึ้น และมีพัฒนาการเข้าสู่ระยะโพสลาร์วาเร็วขึ้น  The objectives of this study were to compare effects of different feeding regimes on survival and growth of medusa shrimp larvae (Latreutes anoplonyx). This experiment was divided into three different feeding regimes (CRD): rearing with Chaetoceros sp. 1.5x105 cells/mL and Brachionus sp. 5 individuals/mL (T1), Chaetoceros sp. 1.5x105 cells/ mL and Brachionus sp. 3 individuals/ mL combined with Artemia sp. 1 nauplii/ mL (T2), and Chaetoceros sp. 1.5x105 cells/mL, Brachionussp. 3 individuals/mL and Artemia sp. 1 nauplii/mL (T3). The results showed that mean survival rates were (+SE) 59.9+4.0, 66.7+3.9, and 66.7+6.7%, respectively (P>0.05). In addition, the highest mean total length was (+SE) 6.20+0.00 mm for rearing with T3 (P0.05).

References

Boyd, C.E. and Tucker, C.S. (1992). Water Quality and Soil Analyses for Aquaculture. Alabama Agriculture Experiment Station, Auburn University, Alabama, USA.

Bruce, A.J. (1995). Latreutes anoplonyx Kemp, 1914 (Crustacea: Decapoda: Hippolytidae), A Jellyfish Associate New to the Australian Fauna. The Beagle, Records of the Museums and Art Galleries of the Northern Territory, 12,61-64.

Choosri, S., Pratoomyot, J. and Phuangsanthia, W. (2020). Survival, Growth, and Development of Dancing Shrimp, Rhynchocinetes durbanensis (Gondon, 1936) Larvae Fed with Rotifer, Artemia and Different Phytoplankton. Khon Kaen Agriculture Journal, 48(1), 917-922. (in Thai)

Fakrajang, S. (2017). Medusa shrimp. Publications of the Institute of Marine Science, Burapha University, 27(71), 8-9. (in Thai)

Hayashi, K.I. and Miyake, S. (1968). Three Caridean Shrimps Associated with a Medusa from Tanabe Bay, Japan. Publications of the Seto marine Biological Laboratory, XVI (1), 11-19.

Ohtsuka, S., Y. Kondo, Y., Sakai, T., Shimazu, M., Shimomura, T., Komai, K., Yanagi, T., Fujita, J.. (2010). In-situ Observations of Symbionts on Medusae Occurring in Japan, Thailand, Indonesia and Malaysia. Bulletin of the Hiroshima University Museum, 2, 9-18.

Pratoomyot, J., A. Chomrung, Suvunroung, P. and Tongprasert, C. (2000). Preliminary Nursing Hingebeak Shrimp (Rhychocinetes uritei). Thaksin University Journal, 3(2), 22-27. (in Thai)

Strickland, J.D.H. and Parsons, T.R. (1972). A Practical Handbook of Seawater Analysis. Fisheries Research Board of Canada Bulletin. Ottawa, Canada.

Yang, J.H. (2005). Larval Development of Latreutes anoplonyx (Decapoda: Hippolytidae) Reared in the Laboratory. Journal of Crustacean Biology, 25(3), 462-479.

Zhang, D., Lin, J. and Creswell, R.L. (1998). Effects of Food and Temperature on Survival and Development in the Peppermint Shrimp, Lysmata wurdemanni. Journal of the World Aquaculture Society, 29(4), 471-476.

Downloads

Published

2022-09-29