ชีววิทยาของดอกสำรอง

A Floral Biology of Malva Nut (Scaphium scaphigerum (G.Don) Guib. & Planch.

Authors

  • มาโนชญ์ กูลพฤกษี

Keywords:

ดอก, ช่อดอก , ชีววิทยาของดอก , สำรอง, หมากจอง, flower, inflorescence, floral biology, malva nut, Scaphium scaphigerum

Abstract

การศึกษาชีววิทยาของดอกสำรองจากต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติอายุประมาณ 30 ปีและต้นต่อยอดอายุ 6 ปี พบว่าเฉพาะต้นที่ขึ้นตามธรรมชาติเท่านั้นที่ติดผล แต่ข้อมูลชีววิทยาอื่นๆ ของดอกของทั้ง 2 กลุ่มนี้เหมือนกันคือ สำรองทุกต้นเริ่มผลิตาดอกในช่วงปลายสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนธันวาคม ช่อดอกทั้งหมดในแต่ละต้นผลิในช่วงเวลาเดียวกัน ช่อดอกเป็นชนิดช่อกระจะและเป็นช่อแยกแขนง มีการเติบโตแบบ S-shape ช่อดอกยาวประมาณ 16 ซม. เส้นผ่าศูนย์กลาง 8.5 ซม. น้ำหนักสด 6.5 ก. น้ำหนักแห้ง 1.5 ก. ดอกแรกของช่อบานในช่วงสัปดาห์ที่ 6 (ประมาณ 38 วัน) หลังจากผลิตาดอก และใช้เวลาจากดอกแรกจนถึงดอกสุดท้ายในช่อบานประมาณ 20 วัน ช่อดอกเกิดเฉพาะที่ตาข้างของส่วนยอด และเกิดช่อดอกได้ 10-16 ช่อ/ยอด แต่ละช่อมีดอกย่อย 500-700 ดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศและเป็นดอกสมมาตรตามรัศมี มีกลีบรวมสีขาว 5-6 กลีบ มีก้านชูเกสรร่วมสีขาว 1 อัน เกสรเพศเมียมี 2-3 คาร์เพลอยู่แนบติดกันแต่เป็นอิสระต่อกัน แต่ละคาร์เพลมี 1-2 ออวุล รังไข่เหนือวงกลีบมีสีชมพู ส่วนล่างของรังไข่มีอับเรณูล้อมรอบอยู่ 20-28 อัน ดอกบานช่วงกลางคืน ยอดเกสรเพศเมียเริ่มพร้อมรับเรณูเวลาประมาณ 21.30 น. อับเรณูเริ่มแตกเวลาประมาณ 24.00 น. ดอกที่บานแล้วส่วนใหญ่จะหลุดร่วงในวันรุ่งขึ้น การติดผลเกิดหลังจากดอกบานแล้ว 1 สัปดาห์ ในขณะที่ดอกสุดท้ายของช่อบานพบผลอ่อนประมาณ 1.0% ของดอกในช่อ พาหะถ่ายเรณูที่สำคัญในช่วงกลางคืนคือแมลงจำพวกมดและผีเสื้อกลางคืน ส่วนช่วงกลางวันคือมด ผึ้งและชันโรง  This study was to find the floral biology of malva nut of the 30-year natural trees and the 6-year grafting trees. It was found that only the natural trees had fruit set. However, their other floral biologies were the same. The flower buds burst at the end of the third week of December. All flower buds of each tree, burst at the same time, are racemose inflorescence and panicle. Their growths are S-shapes, 16 cm length, 8.5 cm width, 6.5 gm fresh weight and 1.5 gm dry weight. The first floret bloomed in the sixth week (around 38 days) after the flower bud burst. They took about 20 days from the first to the last floret bloomed of an inflorescence. The inflorescences were found only at the lateral buds of the end part of branch with 10-16 inflorescences for an each branch, and 500-700 florets for an inflorescence. The floret has 5-6 white tepals and 1 white androgynophore. Compound pistil, apocarpous, has 2-3 carpels attaching together and 1-2 ovules in a carpel. There are 20-28 anthers around the bottom of the pink superior ovary. They were perfect and regular flowers which bloomed at night. Stigma receptive started at about 09.30 pm. Anther opening started at about 12.00 pm. Most bloomed florets fell down in 1 day. Fruit sets were found after 1-week blooming. They were about 1.0% of their florets when the last floret bloomed. The major pollinators could be found at the night time (ants and moths) and the day time (ants, bees and stingless bees).

References

กรกัญญา อักษรเนียม. (2550). เรียนรู้จากสวนลองกอง. เคหการเกษตร, 31(6), 106-110.

กาญจนา สาลีติ๊ด. (2541). พฤกษศาสตร์ทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 2). ราชบุรี: ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสถาบันราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

จิตราภรณ์ ธวัชพันธ์ุ. (2548). หลักอนุกรมวิธานพืช. (พิมพ์ครั้ง ที่ 1). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชุมพล คุณวาสี. (2551). สัณฐานวิทยาเบื้องต้นในการระบุชื่อวงศ์พืชดอกสามัญ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: หน่วยปฏิบัติการวิจัยพรรณไม้ประเทศไทย ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.

ชริดา ปุกหุต, จันทร์เพ็ญ อินทรประเสริฐ, วิริณี พละสารและอรัญญา พิมพ์มงคล. (2549). ผลของสารจากหมากจองต่อการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์. ในรวมบทคัดย่อการประชุมวิชาการ ม.อบ.วิจัยครั้งที่ 1 28-29 กรกฎาคม 2549. (หน้า 203). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

ดวงจันทร์ เฮงสวัสดิ์. (2545). ใยอาหารเพื่อสุขภาพ. วารสารอาหาร, 32(3),157-159.

ทีปภาชน์ เพ็ญสุภา. (2547). เลียบโขงชมสวน ดูความเป็นไปของเงาะ ทุเรียน มังคุด. เคหการเกษตร, 28(7), 78-96.

Kawakita, A., & Kato. M. (2002). Floral Biology and Unique Pollination System of Root Holoparasites, Bal-anophora kuroiwai and B. tobiracola (Balanopho-raceae). American Journal of Botany, 89, 1164-1170.

Phengklai, C. (2001). Scaphium, In T. Santisuk and K. Larsen, (eds). Flora of Thailand. 7(3). (pp.621-624). Bangkok: Thai Forest Herbarium, Royal Forest Department.

Tongumpai, P., Charnwichit, S., Subhadrabandhu, S., & Ogata, R. (1997). Anatomical Study of Terminal Bud Development of Mango Treated with Paclobutrazol. ISHS Acta Horticulturae, 455, 100-107.

Downloads

Published

2024-06-12