ผลกระทบของสาร Dense Nonaqueous Phase Liquids (DNAPLs) ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย
Effects of Dense Nonaqueous Phase Liquids (DNAPLs) on Environmental Problem in Thailand
Keywords:
สารอินทรีย์ที่ไม่ละลายเป็นเนื้อเดียวกับน้ำ, ประเทศไทย, DNAPLs, ThailandAbstract
สารอินทรีย์ในกลุ่ม Dense Nonaqueous Phase Liquid หรือ DNAPLs ถูกใช้ประโยชน์ในการชะล้างไขมันบนแม่พิมพ์ โลหะหรือใช้เป็นสารละลายในการล้างทำความสะอาดอุปกรณ์ชิ้นส่วนประกอบของโลหะที่ใช้ในกระบวนการผลิตของกิจการอุตสาหกรรมไฟฟ้า อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และอุตสาหกรรมผลิตโลหะ รวมถึงถูกนำมาใช้เป็นองค์ประกอบของผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิเช่น สี กาว แลกเกอร์ และหมึกพิมพ์ทำให้สารในกลุ่ม DNAPLs เข้ามามีบทบาทสำคัญต่อภาคอุตสาหกรรมเป็นเหตุให้ต้องนำเข้าในปริมาณสูงขึ้น ซึ่งในปัจจุบันไม่มีระบบการจัดการที่ดีของสารในกลุ่มนี้จึงมีการหกรั่วไหลทำให้เกิดการปนเปื้อนของสารในกลุ่ม DNAPLs ลงสู่ดินและน้ำใต้้ดิน โดยมีสาเหตุเกิดจากการจัดการที่ไม่รัดกุมตั้งแต่การเคลื่อนย้าย การเก็บ และการบำบัดที่ไม่ถูกหลักวิชาการ จนทำให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและสารในกลุ่ม DNAPLs จัดเป็นสารก่อมะเร็งที่มีผลกระทบโดยตรงต่อมนุษย์ ในประเทศไทยผลกระทบของสารในกลุ่ม DNAPLs ต่อปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นใหญ่ แต่ขาดบุคลากรที่มีความรู้ความเข้าใจในวิธีการเก็บและวิเคราะห์ตัวอย่างดินและน้ำใต้ดินจากพื้นที่ที่ปนเปื้อนสารในกลุ่ม DNAPLs สำหรับการบำบัดพื้นที่ที่เกิดการปนเปื้อนสารในกลุ่มDNAPLs การใช้วิธีการดูดซับด้วยพืชร่วมกับวิธีการใช้จุลินทรีย์บำบัดเป็นวิธีที่เหมาะสมเพราะวิธีนี้มีราคาค่าบำบัดต่อหน่วยต่ำแต่มีประสิทธิภาพสูง Organic substances, Dense Nonaqueous Phase Liquids or DNAPLs, are used as solvents in cleaning lipid on mold metal or cleaning dirtiness on metal equipment in electric, electronic, and metal production processes. Also, DNAPLs are used as mixed reagents in many production processes such as color, glue, lacquer, and cartridge. For these reasons, chemicals in group of DNAPLs are very important in many industries and extremely need to import. Currently, there are not good management systems for these chemicals, in terms of their transportation, storage, treatment, and disposal. DNAPLs leak into the environment and contaminate soil and groundwater, causing considerable concern over their harmful effects on humans (as carcinogens). In Thailand, effects of DNAPLs on environmental problem are the big issue but there is not enough expertise in understanding collection methods and the associated analysis of soil and groundwater from DNAPL contamination sites. Both phytoremediation and bioremediation are suitable to use for clean-up DNAPLs’ contaminated sites because these treatments are inexpensive, yet highly efficient.References
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2547). ไตรคลอโรเอทธิลีน. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
กรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยาการธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2548). คลอโรฟอร์ม. กรุงเทพฯ: กรมควบคุมมลพิษ.
เกรียงศักดิ์ อุดมสินโรจน์. (2546). ของเสียอันตราย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรังสิต.
ธนัญชัย วรรณสุข. (2550). การติดตามตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหย (VOCs) และโลหะหนักในดิน และน้ำใต้ดิน กรณีการลักลอบฝังกลบของเสียอันตรายพื้นที่ ตำบลกลางดง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ปี 2547-2549. นครราชสีมา.
นิภา มิลินทวิสมัย และสุวรรณา เนียมสนิท. (2549). แบคทีเรียที่ใช้ Toluene เป็นแหล่งต้นตอคาร์บอนและสามารถสลาย Trichloroethylene (TCE) ได้ที่แยกจากธรรมชาติและแหล่งปนเปื้อนและความ สามารถในการใช้สารต้นตอตัวอื่น. วารสารวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 34(1), 59-71.
พงศ์ศักดิ์ หนูพันธ์. (2550). เทคโนโลยีทางด้านการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อน. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 27(1), 125-137.
มัลลิกา ปัญญาคะโป. (2549). การจัดการของเสียอันตราย. นครปฐม: ภาควิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มีศักดิ์ มิลินทวิสมัย, สีหนาถ ชาญณรงค์, พีรพงษ์ สุนทรเดชะ, วาลิกา เศวตโยธิน และจีระนันท์ พันธจักร. (2544). การปนเปื้อนของสาร Chlorinated Ethylene ในดินและน้ำใต้ดิน. กรุงเทพฯ: ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
Jerald L. Schnoor. (1996). Environmental Modeling. New York. John Wiley & Sons.
Richard J. Watts. (1998). Hazardous Wastes. New York. John Wiley & Sons.