การอบแห้งชั้นบางชิ้นส้มแขก : แบบจำลองจลนพลศาสตร์การอบแห้งและสัมประสิทธิ์การแพร่
Thin Layer Drying of Garcinia atroviridis Slice: Drying Kinetic Model and Diffusion Coefficient
Keywords:
การอบแห้งชั้นบาง , ผลส้มแขก , พลังงานความร้อนร่วม, combined heating energy, garcinia fruit, thin layer dryingAbstract
รายงานการวิจัยนี้นำเสนอการอบแห้งแบบชั้นบางชิ้นส้มแขกหั่นบาง มีความหนา 0.50 เซนติเมตร ความชื้นเริ่มต้น 82.0 เปอร์เซ็นต์มาตรฐานเปียก ที่ช่วงอุณหภูมิอากาศเท่ากับ 45.0-120.0 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 0.3-1.2 เมตร/วินาที จากการทดลองพบว่า อัตราการอบแห้งที่อาศัยพลังงานความร้อนร่วมมีค่าสูงกว่าการอบแห้งด้วยลมร้อนอย่างเดียว โดยแบบจำลองจลนพลศาสตร์แบบเอ็มพิริคัลที่ดัดแปลงของ Page สามารถอธิบายจลนพลศาสตร์การอบแห้งชิ้นส้มแขกได้ดีที่สุด และการอบแห้งด้วยพลังงานความร้อนร่วมมีศักยภาพในการลดพลังงานกว่าการอบแห้งด้วยลมร้อนอย่างเดียวร้อยละ 28.1 ในขณะที่สัมประสิทธิ์การแพร่ความชื้นประสิทธิผลของการอบแห้งด้วยพลังงานความร้อนร่วมและลมร้อนอย่างเดียวที่อุณหภูมิ 80 องศาเซลเซียส ความเร็วลม 1.0 เมตร/วินาที มีค่าเท่ากับ 8.51 x 10-4 และ 5.67 x 10-4 ตารางเซนติเมตร/นาที ตามลำดับ This research present a thin layer drying technique for Garcinia atroviridis slice. The thickness and initial moisture content of the thin slice samples were 0.50 cm and 82.0% w.b., respectively. Drying experiments were set by varying the inlet air temperature of 45.0-120.0oC and air velocity of 0.3-1.2 m/s. The results show that this drying technique produced higher drying rate of samples, compared to the ones using convectional air drying technique. The simulation data of the Modified Page model is reasonable for describing drying kinetic behavior of these thin slice samples. The combined heating energy dryer is also an alternative technique to reduce the input energy of 28.1% by comparing with the one of a hot air drying technique. The effective moisture diffusivities coefficient were 8.51 x 10-4 and 5.67 x 10-4 cm2/min at the temperature of 80oC and air velocity of 1.0 m/s for combined heating energy and convectional air drying, respectively.References
ทรงศิริ แต้สมบัติ. (2549). การพยากรณ์เชิงปริมาณ. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
สถาบันการแพทย์แผนไทย. ส้มแขก. วันที่เข้าถึง 22 กุมภาพันธ์ 2550. เข้าถึงได้จาก URL: http://ittm.dtam.moph.go.th/product_champion/herb9.htm.
สมชาติ โสภณรณฤทธิ์. (2540). การอบแห้งเมล็ดพืชและอาหารบางประเภท. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน : ส้มแขกแห้ง (มผช.) 476/2547). วันที่เข้าถึง 26 พฤษภาคม 2552. เข้าถึงได้จาก URL: http://www.tisi.go.th/otop/pdf_file/tcps476_47.pdf
อีลีหย๊ะ สนิโซ มะรูดิง กาซา และมูฮัมมัดรุสดี เจ๊ะเต๊ะ. (2551). การพัฒนาเครื่องอบแห้งชั้นบางพลังงานความร้อนร่วม YRU-TLD#1 (R&E). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, 3(2), 87-96.
AOAC. (2005). Official methods of analysis. (18th edition). Washington, D.C. : Association of official analytical chemists.
Bala, B.K. (1997). Drying and storage of cereal grains. Oxford & IBH Publishing.
Brooker, D.B., Bakker-Arkema, F.W. and Hall, C.W. (1981). Drying cereal grains. (3rd edition). Westport, Connecticut : The AVI publishing company, Inc.
Crank, J. (1975). The mathematics of diffusion. London : Oxford University Press.
Jena, S. and Das, H. (2007). Modelling for vacuum drying characteristics coconut presscake. Journal of Food Engineering, 79, 92-99.