การไหลเวียนกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งจังหวัดชลบุรี จากการศึกษาโดยใช้แบบจำลองไฮโดรไดนามิค
Circulation in the Bang Pakong River Mouth and Chonburi Coastal Area Investigated Using a Hydrodynamic Model
Keywords:
การไหลเวียนกระแสน้ำ, เอสทูรี่ , แม่น้ำบางปะกง , ชลบุรี, แบบจำลองไฮโดรไดนามิค, circulation, estuary, Bang Pakong River, Chonburi, hydrodynamics modelAbstract
แบบจำลองไฮโดรไดนามิคสองมิติ ได้ถูกนำมาใช้ศึกษาการไหลเวียนกระแสน้ำบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่ง จังหวัดชลบุรี โดยใช้ข้อมูลนำเข้าที่สำคัญสำหรับการคำนวณ ได้แก่ ข้อมูลลม ข้อมูลน้ำท่าเฉลี่ยรายเดือน และข้อมูลระดับน้ำที่ได้จากการคำนวณโดยวิธีวิเคราะห์ฮาร์โมนิค ค่ากระแสน้ำเฉลี่ยรายเดือนได้ถูกนำมาวิเคราะห์ลักษณะการไหลเวียนของน้ำทะเลบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งจังหวัดชลบุรีในช่วงฤดูกาลต่าง ๆ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นถึงอิทธิพลของลมมรสุมและปริมาณน้ำท่าที่มีต่อการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของลักษณะการไหลเวียนกระแสน้ำในบริเวณที่ศึกษา ลมจากทางทิศเหนือ ทิศตะวันออก และทิศใต้ ทำให้น้ำทะเลจากภายนอกไหลเข้ามาในพื้นที่จากทางด้านใต้และไหลออกทางทิศตะวันตกบริเวณตอนเหนือของพื้นที่ ในทางกลับกันในช่วงที่ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้มีกำลังแรง เกิดการไหลเวียนของน้ำเข้ามาในบริเวณตอนเหนือของอ่าวจากทิศตะวันตก และไหลจากออกจากพื้นที่ทางด้านทิศใต้ น้ำท่าจากแม่น้ำบางปะกงทำให้กระแสน้ำไหลออกสู่ทะเลมีกำลังแรงในช่วงฤดูน้ำมาก (สิงหาคม ถึง ตุลาคม) ส่วนในช่วงเวลาอื่นไม่แสดงอิทธิพลเด่นชัด ลักษณะการไหลเวียนกระแสน้ำจากการศึกษานี้อาจนำไปเชื่อมโยงกับการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของคุณภาพน้ำทะเลในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกงและชายฝั่งจังหวัดชลบุรีได้ A two-dimensional hydrodynamic model was employed to investigate circulation in the Bang Pakong River mouth and Chonburi coastal area. Mean wind and river discharge, and computed sea surface elevation from harmonic analysis were used as major inputs in model simulation. Monthly mean currents were used to investigate circulation patterns in the study area. The results illustrated seasonal variations in circulation, controlled by the monsoonal wind systems and river discharge. Winds flowing from the north, the east and the south induce northward inflow in the southern part and westward outflow in the northern part of the study area. In contrast, strong southwest monsoonal wind generates eastward inflow in the northern part and southward outflow in the southern part of the study area. Discharge from the Bang Pakong River generates strong seaward flow during its highest peak from August to October. Its influence is not prominent, compared to wind forcing, in other seasons. Seasonal variations in circulation patterns, derived from this study, may be used to explain seasonal variations in water qualities in the Bang Pakong River mouth and Chonburi coastal area.References
ฉลวย มุสิกะ, วันชัย วงสุดาวรรณ, อาวุธ หมั่นหาผล และแววตา ทองระอา. (2550). สถานการณ์คุณภาพน้ำชายฝั่งทะเลตะวันออก ปี 2548. วารสารวิทยาศาสตร์บูรพา. 12(1), 33-44.
พิชาญ สว่างวงศ์ และคณะ. (2541). การศึกษาคุณสมบัติทางฟิสิกส์เคมี และ ชีวภาพ ในบริเวณปากแม่น้ำบางปะกง 2537-2540. รายงานวิจัยโครงการวิจัยร่วม NRCT-JSPS.
ภูติ ภูติเกียรติขจร. (2541). การศึกษารูปแบบการไหลเวียนของน้ำบริเวณอ่าวไทยตอนบนโดยใช้แบบจำลองทางคณิตศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
สมถวิล จริตควร. (2540). ชีววิทยาทางทะเล. ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ชลบุรี.
อนุกูล บูรณประทีปรัตน์ และมหรรณพ บรรพพงศ์. (2541). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงตามฤดูกาลของกระแสน้ำในอ่าวไทย โดยใช้แบบจำลองคณิตศาสตร์แบบ 2 มิติ. วาริชศาสตร์, 4(2), 27-39.
Bunpapong, M., Reid, R.O. & Whitaker, E. (1985). An Investigation of Hurricane-Induced Forerunner Surge in the Gulf of Mexico. Research conducted through Texas A&M Research Foundation Project 4667, Texas A&M University USA.
Buranapratheprat, A. & Yanagi, T. (2003). Seasonal variations in circulation and average residence time of the Bangpakong estuary, Thailand. La mer, 41, 199-213.
Buranapratheprat, A., Yanagi, T., Boonphakdee, T. & Sawangwong, P. (2002). Seasonal variations in inorganic nutrient budgets of the Bangpakong estuary, Thailand. Journal of Oceanography 58, 557-564.
Burford, M.A., Alongi, D.M., McKinnon, A.D. & Trott, L.A. (2008). Primary production and nutrients in a tropical macrotidal estuary, Darwin Harbour, Australia. Estuarine, Coastal and Shelf Science, 79(3), 440-448.
Humborg, C. (1997). Primary productivity regime and nutrient removal in the Danube estuary. Estuarine, Coastal and Shelf Science. 45(5), 579-589.