การประยุกต์ใช้โมโนโคลนอลแอนติบอดี ในการจำแนก Vibrio harveyi ชนิดที่ก่อโรครุนแรงจากระบบการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ
Application of Monoclonal Antibody for Identification of Virulent Vibrio harveyi in Aquaculture
Keywords:
แบคทีเรียเรืองแสง, โมโนโคลนอลแอนติบอดี, Vibrio harveyi, monoclonal antibodyAbstract
จากการรวบรวม Vibrio harveyi จากแหล่งต่าง ๆ 8 สายพันธุ์ Vibrio spp. สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่ทราบชนิด Vibrio spp. เก็บจากอวัยวะของสัตว์น้ำ เช่น ตับกุ้ง ทางเดินอาหารของหอย เพรียงทราย และอาร์ทีเมีย ที่เจริญบนอาหาร TCBS และแบคทีเรียชนิดอื่น ๆ มาทดสอบกับโมโนโคลนอลแอนติบอดี VH26-11E ซึ่งจำเพาะต่อ V. harveyi สายพันธุ์ที่ก่อโรครุนแรง (V. harveyi 1526) โดยวิธี Dot Blotting และ Western Blotting พบว่าแบคทีเรียอื่น ๆ Vibrio spp. ทุกชนิดและ V. harveyi 6 สายพันธุ์ให้ผลลบ มีเพียงสายพันธุ์เดียวจากสุราษฎร์ธานีที่แยกจากกุ้งกุลาดำที่เป็นโรคเท่านั้น ที่สามารถทำปฏิกิริยากับโมโนโคลนอลแอนติบอดีนี้ได้เช่นเดียวกับ V. harveyi 1526 ซึ่งจากการทดสอบปฏิกิริยาทางชีวเคมีพบว่า V. harveyi ทั้ง 2 สายพันธุ์ มีลักษณะคล้ายกัน แต่บางลักษณะแตกต่างจาก V. harveyi สายพันธุ์อื่นที่ร่วมทดสอบ แสดงว่าโมโนโคลนอลแอนติบอดี VH26-11E ทำปฏิกิริยา V. harveyi ชนิดก่อโรครุนแรงและมี cross reactivity กับ V. harveyi จากสุราษฎร์ธานี ดังนั้นโมโนโคลนอลแอนติบอดีนี้สามารถจำแนก V. harveyi ที่ก่อโรคในสัตว์น้ำได้ และคาดว่าจะนำมาใช้ตรวจสอบเพื่อควบคุมการระบาดของโรคในการเพาะสัตว์น้ำได้อย่างมีประสิทธิภาพ Eight strains of Vibrio harveyi, Vibrio spp. from different sources, Vibrio spp. grown on TCBS agar and isolated from shrimp hepatopancreas, digestive system of mollusks, polycheate and brine shrimp and non-Vibrio species, were tested with monoclonal antibody (MAb). MAb VH26-11E specific to virulent strain of V. harveyi by dot blotting and Western blotting were used for Vibrio spp. studying. and six species of V. harveyi were negative, except that only the type of V. harveyi being isolated from P. monodon at Surattani province reacted with the MAb as same as V. harveyi 1526. The result of biochemical technique test for confirmation revealed that both species of V. harveyi were similar, but some kinds of their characteristics were different from the others being tested. This indicates that VH26-11E can act with virulent V. harveyi and generate cross reactivity with V. harveyi of Surattani sample. Hence, MAb can be used to differentiate virulent V. harveyi from non-virulent isolates. Besides, it is expected to monitor the outbreak of bacterial infection in aquaculture system.References
ชะลอ ลิ้มสุวรรณ. (2543). กุ้งไทย 2000. เจริญรัฐการพิมพ์ กรุงเทพฯ. 43.
ชัยวุฒิ สุดทองคง. (2539). การแยกชนิดและการดื้อยาของแบคทีเรียเรืองแสงในบริเวณแหล่งน้ำชายฝั่งของประเทศไทย. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 109.
ไพศาล สิทธิกรกุล. (2548). วิทยาภูมิคุ้นกัน. กรุงเทพ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ. 90-91.
ลิลา เรืองแป้น, ชัยวุฒิ สุดทอง และยุบลรัตน์ ศรีแก้ว. (2540). แบคทีเรียเรืองแสงในแหล่งเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำ จังหวัดสงขลา. เอกสารวิชาการฉบับที่ 18/2540 สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจังหวัดสงขลา, ศูนย์พัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งสมุทรปราการ. กรมประมง. 10.
สุกัญญา จันคูเมือง. (2550). การสำรวจความรุนแรงของเชื้อ Vibrio harveyi ระหว่างกุ้งและปลา. ปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต ภาควิชาวาริชศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา, ชลบุรี.
สุทธิพันธ์ สาระสมบัติ, วิบูลย์ศรี พิมลพันธุ์, นภาธร บานชื่น, ทัศนีย์ สุโกศล, ศันสนีย์ เสนะวงษ์, ภรารัชต์ ธารากุล และสิริฤกษ์ ทรงศิริไล. (2542). โมโนโคลนอลแอนติบอดี. อิมมูโนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ. ภาควิชาวิทยาภูมิคุ้มกัน คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล.
Buchanan, R.E. & Gibbons, N.E. (1974). Bergeyûs Manual of Determinative Bacteriology. Baltimore. Williams & Wilkins. 1268.
Lightner, D.V. (1996). A Handbook of Pathology and Diagnostic Procedures for Diseases of penaeid shrimp. Baton Rouge, LA: World Aquaculture Society, 236.
Liu, P.C., Lee, K.K., & Chen, S.N. (1996). Pathogenicity of different isolates of Vibrio harveyi in tiger prawn, Penaeus monodon. Letters in Applied Microbiology. 22, 413-416.
Phainphak W., Rengpipat S., Rukpratanporn S., Longyant S., Chaivisuthangkura P., Sithigorngul W., & Sithigorngul P. (2005). Production of monoclonal antibodies for detection of Vibrio harveyi. Diseases of Aquatic Organisms. 63,161-168.