นิเวศวิทยาของราทะเลในเขตอนุรักษ์พืชป่าชายเลน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

Ecology of Marine Fungi in Mangrove Conserved Area in Bangpakong District, Chachoengsao Province

Authors

  • จิราภรณ์ ธนากุลปกรณ์
  • อภิรดี ปิลันธนภาคย์

Keywords:

ราทะเล , ป่าชายเลน , เศษไม้, marine fungi, mangrove, driftwood

Abstract

การศึกษาราทะเลบนเศษไม้จากแหล่งตัวอย่าง 2 แหล่งในเขตอนุรักษ์พืชป่าชายเลน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 100 ตัวอย่าง พบรา 29 ชนิด เป็นแอสโคไมซีส 14 ชนิด อะนามอร์พ 12 ชนิด และราที่โครงสร้างสืบพันธุ์ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถจัดกลุ่มได้ 3 ชนิด ราที่พบความถี่สูง (ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไป) อันดับแรก ได้แก่ Periconia prolifica (ร้อยละ 38) รองลงมาเป็น Verruculina enalia (ร้อยละ 31) และ Eutypa bathurstensis (ร้อยละ 30) แหล่งตัวอย่างที่ 2 พบราสูงสุดถึง 22 ชนิดโดยราที่พบมีความถี่ ตั้งแต่ร้อยละ 30 ขึ้นไปมี 7 ชนิด ราที่พบมาก 3 อันดับแรก ได้แก่ Verruculina enalia (ร้อยละ 50) Trichocladium nypae (ร้อยละ 46) และ Savoryella paucispora (ร้อยละ 38) ตามลำดับ เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของราในแต่ละแหล่งตัวอย่าง พบว่ามีราเพียง 3 ชนิด ที่พบได้ทั้งสองแหล่งตัวอย่าง ได้แก่ P. prolifica, V. enalia และ Epicoccum sp. ค่า Sorensen’s index แสดงค่าความคล้ายคลึงของประชากรราทั้งสองแหล่งตัวอย่าง มีค่าเท่ากับ 0.188   The marine fungi on mangrove driftwood from two sites in mangrove conserved area in Chachoengsao Province were investigated. By examining 100 driftwood, 29 fungi were recorded (14 Ascomycetes, 12 anamorphs and 3 ungrouping fungi). Three fungi were frequent fungi (≥30% occurrence); Periconia prolifica (38%), Verruculina enalia (31%) and Eutypa bathurstensis (30%). The species richness of the second site was found higher than that of the first site. A total of 22 taxa including 7 frequent fungi were recorded. Three highest frequently found fungi were Verruculina enalia (50%), Trichocladium nypae (46%) and Savoryella paucispora (38%). Comparative study recorded only three fungi for both sites; P. prolifica, V. enalia and Epicoccum sp. Sorensen’s index of similarity between the fungal communities of both sites was 0.188.

References

ข่าวสดรายวัน. (2551). ทัพลิงแสมบุกและพังหมู่บ้าน. สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2552, เข้าถึงได้จาก http://www. mtichon.co.th/khaosod/veiw_news.php?newsid.

จริยา สากยโรจน์. (2550). ราทะเลผู้ย่อยสลายในความเค็ม. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2551. เข้าถึงได้จาก http://www.biotec.or.th/ biotechnology-th/newsdetail.asp?id=3313.

ประจวบ ลีรักษาเกียรติ. (2549). การสำรวจและประเมินพื้นที่เลี้ยงกุ้งกุลาดำ ป่าชายเลนจังหวัดฉะเชิงเทราและชลบุรี ด้วยระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2552, เข้าถึงได้จาก http://www. nicaonline.com/articles10/site/veiw_article.asp?idarticle=1874.

Abdel-Wahab, A. M. (2005). Diversity of marine fungi from Egyptian Red Sea mangrove. Botanica Marina, 48, 348-355.

Alias, S. A. (1996). Ecological and taxonomic studies of lignicolous marine fungi in Malaysian mangroves. Doctorial dissertation. Department of Biological Science, Portsmouth University.

Bucher, V. V. C., Hyde, K. D., Pointing, S. B., & Reddy, C. A. (2004). Production of wood decay enzymes, mass loss and lignin solubilization in woody by marine ascomycetes and their anamorph. Fungal Diversity, 15, 1-14.

Bugni, T, & Ireland C.M. (2004). Marine-derived fungi: a chemically and biologically diverse group of microorganisms. Natural Product Reports, 2, 143-163.

Chinnaraj, S. (1993). Higher marine fungi from mangrove of Andaman and Nicobar Islands. Sydowia, 45, 109-115.

Cribb, A. B., & Cribb, J. W. (1956). Marine fungi from Queensland - II. Botanica Marina, 3, 97-105.

Fugueira, D., & Barata, M.(2007). Marine fungi from two sandy beaches in Protugal. Mycologia, 99, 20-23.

Downloads

Published

2024-06-21