กระบวนการความสนใจและการประยุกต์สำหรับการวิจัยทางวิทยาการปัญญา

Authors

  • ปรัชญา แก้วแก่น

Keywords:

สมอง, การบันทึกภาพด้วยรังสี, ตัวชี้วัดทางชีวภาพ

Abstract

          ความสนใจ (Attention) เป็นประเด็นหนึ่งที่มีสำคัญในการศึกษาทางวิทยาการปัญญา (Cognitive Science) เนื่องด้วยเป็นกระบวนการทำงานของสมองที่มีความซับซ้อนและมีแบบแผนเป็นลำดับขั้นตอน (Attention process) ความสนใจเกิดขึ้นได้โดยมีความจำเพาะกับสิ่งกระตุ้นภายนอกที่จะส่งกระแสประสาทผ่านไปแปลความหมายภายในสมองในบางสถานการณ์อาจมีสิ่งเร้าอื่นมารบกวนกระบวนการความสนใจของมนุษย์ ทำให้กระบวนการความสนใจไม่เกิดขึ้นครบองค์ประกอบ และไม่แสดงออกมาเป็นพฤติกรรมที่สมบูรณ์หรืออาจแสดงออกมาในรูปแบบพฤติกรรมที่ผิดปกติ ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการเกิดพยาธิสภาพที่สมองหรือความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงกิจกรรมในสมอง โดยสามารถวัดได้โดยเครื่องมือวัดทางการแพทย์  ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีภาพถ่ายรังสีระบบประสาทที่ทำให้ทราบถึงกิจกรรมการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในสมอง จึงทำให้เกิดความเข้าใจถึงเส้นทางการตอบสนองต่อสิ่งเร้า เมื่อเกิดความสนใจได้ชัดเจนมากขึ้น อย่างไรก็ตามยังคงต้องอาศัยการแปลความหมายจากตัวชี้วัดทางชีวภาพ (Biomarkers) อื่น ๆ เช่น สารสื่อประสาท ร่วมด้วยจึงบจะได้ข้อสรุปงานวิจัยที่สมบูรณ์           Attention is an important aspect in cognitive science research. This article reviews the component of attention process in neuronal pathways. In addition, the characteristics of attention are a complex process in higher brain function that specific to external stimuli. This final process is interpreted by the brain and response to represent behavior. Some situation can interrupt the attention process and can cause abnormal behaviors. It’s resulting from pathological damage in the brain or genetic disorders, etc. To date, the advancement of radiology (brain imaging) can measure the activity of neural activity when response to external stimuli. However, the data still rely on interpreting from other biomarkers such as neurotransmitter in conjunction with completed conclusion.

Downloads