การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์สำหรับครูระดับชั้นมัธยมศึกษา

Authors

  • นันทิมา นาคาพงศ์
  • สำราญ มีแจ้ง
  • อรุณี อ่อนสวัสดิ์
  • สายฝน วิบูลรังสรรค์

Keywords:

คณิตศาสตร์, สมรรถนะ, ความสามารถทางคณิตศาสตร์, ครูมัธยมศึกษา

Abstract

          การวิจัยและพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ สำหรับครูระดับมัธยมศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหา อุปสรรคและสมรรถนะที่จำเป็นของการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 2) สร้างและตรวจสอบรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ 3) ทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะที่สร้างขึ้น 4) ประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการศึกษาเอกสารงานวิจัย การสังเกตสภาพจริง การสัมภาษณ์ครู การสอบถามความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ การวัดสมรรถนะด้านเจตคติ สมรรถนะด้านความรู้และสมรรถนะด้านทักษะ การสอบถามความพึงพอใจของครู และทีมวิทยากร กลุ่มตัวอย่างคือครู จำนวน 32 คน          ผลการวิจัยปรากฏว่า รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) การวิเคราะห์สมรรถนะที่จำเป็น 2) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมิน 3) ชุดกิจกรรมเสริมสร้างสมรรถนะการประเมิน และ 4) แผนการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ผลการทดลองใช้รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ ปรากฏว่า ครูมีสมรรถนะด้านเจตคติอยู่ในระดับดีมาก สมรรถนะด้านความรู้อยู่ในระดับผ่านเกณฑ์ สมรรถนะด้านทักษะอยู่ในระดับดี ประสิทธิภาพของรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์เท่ากับ 85.60/92.95 ดัชนีครูมีความรู้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 76 ผลการประเมินรูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ พบว่า ความมีประโยชน์ ความเป็นไปได้ ความเหมาะสม และความถกต้องโดยรวมอยู่ในระดับดีมาก แสดงว่า สามารถนำไปใช้เสริมสร้างสมรรถนะการประเมินทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ของครูระดับชั้นมัธยมศึกษาได้           The purpose of this research was to develop a model to enhancing competence in evaluating mathematical skill and process for secondary school teachers. Four steps were involved in the study: 1) studying current conditions, problems and core competence in evaluating mathematical skill and process 2) creating and validating the model 3) pilot testing the model; and 4) evaluating effectiveness of the model. The data collection included literature reviews, direct observation, interviews, and questionnaires. Thirty-two teachers participated in the research.  The model which resulted consisted of four components: 1) core competence analysis 2) procedure of enhancing competence in evaluation 3) an activity package for enhancing competence in evaluation; and 4) a mathematical skill and process evaluation plan. The results showed that the model, when applied, improved both attitude and competence of teachers. The effectiveness of the model was 85.63/92.95. The efficiency index was 0.76.

Downloads