ผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือกต่อสมดุลในชีวิตและการทำงานของพนักงานบริษัท
Keywords:
การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, คุณภาพชีวิตการทำงาน, การทำงานAbstract
การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือกต่อความสมดุลในชีวิตและการทำงานของพนักงานบริษัทผู้ผลิตเครื่องปรับอากาศแห่งหนึ่ง กลุ่มตัวอย่างคือพนักงานฝ่ายสนับสนุนของบริษัทที่มีคะแนนจาการทำแบบสอบถามความสมดุลของชีวิตน้อยที่สุดขึ้นไป จำนวน 12 คน สุ่มตัวอย่างเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 6 คน กลุ่มทดลองเข้ารับการปรึกษากลุ่ม 2 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ โดยแต่ละครั้งใช้เวลา 60-90 นาที เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วยแบบสอบถามความสมดุลของชีวิตและการทำงาน และโปรแกรมการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการวัดผล 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังทดลอง และระยะติดตามผล จากนั้นนำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่ม และหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม ผลการวิจัยปรากฏว่า มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างวิธีการทดลองกับระยะเวลาการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 พนักงานฝ่ายสนับสนุนที่ได้รับวิธีการปรึกษากลุ่มตารมแนวทฤษฎีทางเลือก มีคะแนนเฉลี่ยความสมดุลในชีวิตและการทำงานในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง และสูงกว่ากลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับวิธีการปรึกษากลุ่มตามแนวทฤษฎีทางเลือก The purpose of this research was to study the effects of Choice Theory Group Counseling on work-life balance of employees at an air conditioned manufacturing plant. The sample consisted of twelve employees who had the lowest scores on work-life balance scale. Participants were randomly assigned to experimental and control groups, with six members each. The experimental group participated in counseling sessions two times per week over six weeks, with sessions lasting from 60 to 90 minutes. The instruments were work-life balance scale and the counseling program. The data collection procedure involved three phases: the pre-test, the post-test, and the follow-up. The data were analyzed by repeated-measure analysis of variance: one between-subjects and one within- subjects. The results revealed that the interaction between the methods and the duration of the experimental was found statisfically significant at .05 level. Compared to pre-test scores, and to control group scores, employees in the experimental group demonstrated significantly higher work-life balance scores on both the post-test and the follow-up.Downloads
Issue
Section
Articles