การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • จุฑามาส ศรีจำนงค์
  • อรุณี อ่อนสวัสดิ์
  • รัตนะ บัวสนธ์
  • สายฝน วิบูลรังสรรค์

Keywords:

ประกันคุณภาพการศึกษา, โรงเรียน, การประเมิน, การประเมินภายใน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสนามวิจัยคือสถานศึกษาสองแห่งที่ผ่านและไม่ผ่านการรับรองการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสองผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการประเมินภายในของสถานศึกษาแต่ละแห่งเก็บรวบรวมข้อมูลโดยวิธีการสัมภาษณ์การสังเกตและแบบประเมินตนเองวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา          ผลการวิจัยปรากฏดังนี้          1) สถานศึกษาดำเนินงานประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษาคณะกรรมการประเมินภายในประกอบด้วยผู้บริหารครูและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสถานศึกษาแต่ละแห่งมีสมรรถภาพการประเมินภายในแตกต่างกัน          2) กระบวนการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในดำเนินการตามขั้นตอนการประเมินเสริมพลังคือ (1) การรวบรวมข้อมูล (2) การกำหนดเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ (3) การพัฒนากลยุทธ์เพื่อปฏิบัติให้บรรลุเป้าหมาย (4) การจัดหาหลักฐานที่แสดงถึงความก้าวหน้าในการปฏิบัติงานในแต่ละขั้นตอนประยุกต์วิธีการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินกำหนดเป็นกลยุทธ์ในการดำเนินงานเน้นบทบาทการให้คำแนะนำและอำนวยความสะดวก          3) ผลการประเมินการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในพบว่าผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความรู้ความเข้าใจมีเจตคติต่อการประเมินและมีส่วนร่วมในการประเมินภายในเพิ่มขึ้นการดำเนินงานมีความเป็นประโยชน์ความเป็นไปได้ความเหมาะสมความถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีความพึงพอใจในกระบวนการดำเนินงาน          4) รูปแบบการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในสำหรับสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ขั้นตอนคือ (1) การวางแผนเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายใน (2) การดำเนินการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายในและ (3) การประเมินผลการเสริมสร้างสมรรถภาพการประเมินภายใน          The purpose of this research was to develop a model to enhance the competence in internal evaluation for basic school. The research field was two basic schools which one of them passed the secondexternal quality evaluation while the other did not. The keys informants were stake holders who related to theprocess of internal quality evaluation of each school. Data were collected through interview, observation andself- assessment. Qualitative data were analyzed by content analysis.          The findings of the research were as follows;          1. The process of internal quality evaluation was done based on the standards of the basic schooleducation by the internal quality evaluation committee - administrators, teachers, and stakeholders. Thecompetency in internal evaluation of each school was different.          2. The process to enhancing evaluation competence was conducted based on the concept of empowerment evaluation consisting 4 steps; (1) gathering the information (2) setting the goals (3) developingstrategies and (4) providing the documents of progress. In each step, the empowerment evaluation was usedas the strategies. The role of facilitator and advocator were emphasized.          3. Stakeholders have gained better knowledge, attitude and more participated in the internal evaluation. The process of enhancing internal evaluation was useful, feasible, appropriate, accurate and reliable. Stakeholders were satisfied with the enhancing competence process.          4. The enhancing competence in internal evaluation model consists of 3 steps; (1) Planning (2) Acting and (3) Evaluating

Downloads