ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของสินค้า OTOP ในจังหวัดชลบุรี

Authors

  • ปริยา รินรัตนากร
  • ชลธิศ ดาราวงษ์
  • ชัยณรงค์ ชัยจินดา

Keywords:

สินค้าไทย, การตลาด, โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์, ชลบุรี

Abstract

          ในพื้นที่จังหวัดชลบุรีมีผู้ประกอบการสินค้า OTOP อยู่เป็นจำนวนมากมีทั้งกลุ่มผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จมีศักยภาพทางการแข่งขันและกลุ่มผู้ประกอบการที่ยังต้องการการสนับสนุนปัจจัยด้านต่างๆอย่างต่อเนื่องการศึกษานี้มุ่งศึกษาระดับอิทธิพลของปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดและปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อความสำเร็จของสินค้า OTOP ประเภทต่างๆในพื้นที่จังหวัดชลบุรีกลุ่มตัวอย่างคือนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับสินค้าOTOP ในจังหวัดชลบุรีรวมทั้งผู้ผลิตผู้ประกอบการสินค้า OTOP ทั้ง 5 ประเภทคืออาหารเครื่องดื่มเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายสมุนไพรและของใช้และของตกแต่งจำนวนทั้งสิ้น 200 คนใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือวิจัยสถิติที่ใช้คือค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ          ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าผู้ประกอบการสินค้า OTOP มีการใช้ปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดคือ 7Ps โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากนอกจากนี้ผู้ประกอบการสินค้า OTOP มีการใช้ปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏว่าปัจจัยด้านกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของสินค้าOTOP ได้แก่ด้านสินค้าด้านการส่งเสริมการตลาดด้านพนักงานให้บริการและด้านราคาส่วนปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของสินค้า OTOP คือด้านการสร้างภาพลักษณ์และเมื่อพิจารณาโดยจำแนกประเภทของสินค้า OTOP พบว่าในส่วนของกลยุทธ์ 7Ps ปัจจัยด้านสินค้ามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของสินค้า OTOP ประเภทสมุนไพรที่ไม่ใช่อาหารมากที่สุดรองลงมาคือสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายส่วนปัจจัยด้านการสื่อสารการตลาดด้านการสร้างภาพลักษณ์สินค้ามีอิทธิพลต่อความสำเร็จของสินค้า OTOP ประเภทอาหารมากที่สุดรองลงมาคือสินค้าประเภทเสื้อผ้าและเครื่องแต่งกายและสินค้าประเภทเครื่องดื่ม          In Chon Buri province, there are many OTOP (One Tambon One Product) entrepreneurs. These producers can be successful and potentially competitive. However, they need consistent support. This studyaimed to examine the influence of marketing strategies and marketing communication on their success andcompetitiveness. Both two factors were found to have a profound effect on the success of OTOP products inChon Buri province. The sample used in this research consisted of academics and OTOP professionals inChon Buri province, included 200 entrepreneurs and producers of five types of OTOP; food, beverages,clothing, herbs, and accessories and decorations. A questionnaire was used for data collection. Statisticalanalysis included means, standard deviation, and multiple regression. Research findings showed that OTOP producers used marketing strategy implementing the 7Ps factors at the high level. In addition, the OTOP producers used marketing communication factors at the moderate level. The multiple regression analysis indicated that marketing strategy factors had an effect onOTOP products’ success. The highest effect was from product strategy, followed by promotion strategy,service employee strategy, and price strategy. The factors of marketing communication also had an effect onthe success of OTOP products. The highest effect was from product image. Considering each OTOP productcategory, we found that marketing strategy (7Ps) had the highest effect on OTOP products’ success in thecategory of non-food herbal products, followed by clothing and accessories. With regard to marketingcommunication factors, the product image had the highest effect on OTOP products in the category of food,followed by clothing and accessories, and beverages.

Downloads