ผลของการฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจต่อการเพิ่มศักยภาพความจำขณะคิดในผู้สูงอายุ: การศึกษาคลื่นไฟฟ้าสมอง
Keywords:
ดนตรีไทย, ความจำ, การบันทึกคลื่นไฟฟ้าสมอง, ผู้สูงอายุAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสังเคราะห์ลักษณะของดนตรีไทยเดิมที่ส่งผลต่อการเพิ่มความจำขณะคิดและเปรียบเทียบความจำขณะคิดของผู้สูงอายุก่อนและหลังฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุเพศหญิงที่เป็นสมาชิกชมรมผู้สูงอายุของเขตเทศบาลตำบลอ่างศิลาที่อาสาสมัครเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 15 คนใช้แบบแผนการวิจัยกลุ่มเดียววัดก่อนและหลังการทดลองดนตรีที่ใช้ในการทดลองเป็นดนตรีไทยเดิมบรรเลงที่ฟังแล้วรู้สึกสนุกสนานและรู้สึกตื่นตัวซึ่งมีลักษณะตรงตามเกณฑ์ที่กำหนดเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบวัดความจำขณะคิดชนิดกิจกรรมขณะนับเลขและเครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าสมองวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนความถูกต้องของการทำกิจกรรมขณะนับเลขระหว่างก่อนกับหลังการฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจด้วยสถิติทดสอบทีและเปรียบเทียบความแตกต่างของเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูงและเปอร์เซ็นอีอาร์เอสของคลื่นเทต้าของการทำกิจกรรมขณะนับตัวเลขด้วยสถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบวัดซ้า ผลการวิจัยแสดงให้เห็นว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนความถูกต้องของการทำกิจกรรมขณะนับเลขและเปอร์เซ็นต์อีอาร์ดีของคลื่นอัลฟาระดับสูงบริเวณเปลือกสมองส่วนหน้าเพิ่มขึ้นหลังจากฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีเปอร์เซ็นต์อีอาร์เอสของคลื่นเทต้าบริเวณร่างแหของวงจรเซลประสาทบริเวณสมองด้านหน้ากับสมองด้านพาไรเอทัลลดลงหลังจากฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ชี้ให้เห็นว่าการฟังดนตรีไทยเดิมที่พึงพอใจช่วยเพิ่มศักยภาพด้านความจำขณะคิดของผู้สูงอายุ The purpose of this research was to synthesize the characteristics of Thai classical music thatimprove working memory and to determine the effects of listening to the pleasant Thai classical music on theworking memory in elderly. The Single-Group Pretest-Posttest Design was used to test the hypothesis for 15participants who were members of Angsila municipality geriatric club and volunteered to join in theexperiment. Thai classical music without lyrics that made participants feel amused and aroused was used inthe experiment. Data were collected using counting span task (CST) and theelectroencephalogram to assessworking memory of participants both before and after listening to the pleasant Thai classical music. Theaccuracy scores of the CST were analysed using a dependent t-test. The upper alpha ERD% and theta ERS%were analysed using repeated measured MANOVA. The results showed that the posttest CTS accuracy scores and the upper alpha ERD% in the frontalarea of participants who listened to Thai classical music were significantly higher than the pretest scores(p<.05). While the theta ERS% in the frontal-parietal network of participants was significantly lower than thepretest scores (p<.05). These results indicate that listening to pleasant Thai classical music improves workingmemory capacity in elderlyDownloads
Issue
Section
Articles