พฤติกรรมคิดก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรี: การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน

Authors

  • จุฑาทิพย์ เจริญรื่น
  • ภัทราวดี มากมี
  • สุชาดา กรเพชรปาณี

Keywords:

พนักงานเทศบาล, ชลบุรี, ความสามารถในตนเอง, การวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน, พฤติกรรมคิดก้าวหน้า

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรีและตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ปฏิบัติงานเทศบาลตำบลในจังหวัดชลบุรีจานวน 480 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือแบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรม LISREL          ผลการวิจัยปรากฏว่าพฤติกรรมคิดก้าวหน้าของผู้ปฏิบัติงานเทศบาลตำบลประกอบด้วย 4 องค์ประกอบได้แก่ด้านบุคลิกภาพเชิงรุกด้านความริเริ่มด้วยตนเองด้านขอบเขตการรับรู้ความสามารถแห่งตนและด้านความรับผิดชอบ          โมเดลองค์ประกอบพฤติกรรมคิดก้าวหน้ามีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสถิติไค-สแควร์เท่ากับ 314.39 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 314 ค่าความน่าจะเป็น (p) เท่ากับ .48 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ .96, .93และ 1.00 ตามลำดับค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของเศษเหลือในรูปคะแนนมาตรฐาน (SRMR) เท่ากับ .03 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนโดยประมาณ (RMSEA) เท่ากับ .00          Using Second-order Confirmatory Factor Analysis this research aimed to develop and validate amodel of proactive behavior of municipality officers in Chon Buri. The research sample comprised 480 sub-districtmunicipality officers, drawn by proportional stratified random sampling. Research instrument was aquestionnaire. SPSS and LISREL were used to analyze the data.          The results showed that the proactive behavior of sub-district municipality officers consisted of fourfactors; Proactive Personality, Personal Initiative, Role Breadth Self–Efficacy, and Taking Charge. Theresults from the second-order confirmatory factor analysis indicated that the model of proactive behavior wasin accordance with the empirical data. The fit measures were as follow: Chi-square goodness of fit test value= 314.39, df= 314, p = .48, GFI = .96, AGFI = .93, CFI = 1.00, SRMR =.03, and RMSEA = .00

Downloads