การพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ

Authors

  • ปิยพร วิเศษนคร
  • สมพร สุทัศนีย์
  • เสรี ชัดแช้ม

Keywords:

การสูบบุหรี่, วัยรุ่น, การใช้ยาสูบ, ทัศนคติ, บุหรี่

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่สูบบุหรี่ศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 1-3 ของสถาบันอาชีวศึกษาในจังหวัดชลบุรีปีการศึกษา 2552 จำนวน380 คนเลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการอาสาสมัครเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80             ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพที่พัฒนาขึ้นประกอบด้วยเจตคติต่อการสูบบุหรี่การรับรู้อันตรายของบุหรี่และการคล้อยตามกลุ่มอ้างอิงที่สูบบุหรี่เป็นสาเหตุทางตรงต่อความตั้งใจสูบบุหรี่และการรับรู้ความสามารถในการควบคุมพฤติกรรมการสูบบุหรี่เป็นสาเหตุทางอ้อมต่อความตั้งใจสูบบุหรี่โดยผ่านเจตคติต่อการสูบบุหรี่          2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์พิจารณาจากค่าสถิติดังต่อไปนี้ค่าไค-สแควร์เท่ากับ 125.93 ค่าdfเท่ากับ 90, ค่าpเท่ากับ .01ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์เท่ากับ 1.40 ค่า GFI เท่ากับ .97 ค่า AGFI เท่ากับ .93 ค่า CFI เท่ากับ .99 ค่า Standardized RMRเท่ากับ .02 ค่า RMSEA เท่ากับ .03 และค่าสัมประสิทธิ์พยากรณ์เท่ากับ .85 แสดงว่าตัวแปรทั้งหมดในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมความตั้งใจสูบบุหรี่ของนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพได้ร้อยละ 85           The purpose of this research was to develop and validate a causal model of vocational certificatestudents’ intention to smoke cigarettes. The sample was 380 smoking vocational certificate students ofvocational schools in Chon Buri the academic year 2009 who volunteered to participate in this study. Theresearch instruments was a questionnaire. Descriptive statistics were generated using SPSS and causalmodeling involved the use of LISREL 8.80.          The results were as follows:          1. Variables in the model that had a direct effect on the dependent variable “intention to smoke”were attitudes toward smoking, perceived smoking hazards, and conformation to subjective norms aboutsmoking. While the variables that had an indirect effect on intention to smoke was perceived behavioralcontrol on cigarette smoking through attitudes toward smoking.          2. Results indicated that the causal model was consistent with the empirical data as demonstratedby the fit measures: chi-square = 125.93, df= 90, p = .01, relative chi-square ratio = 1.40, GFI = .97, AGFI= .93, CFI = .99 standardized RMR = .02, RMSEA = .03. The variables in the model accounted for 85percent of the total variance of intention to smoke

Downloads