การพัฒนามาตรวัดแรงจูงใจการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในราชอาณาจักรกัมพูชา

Authors

  • Pheary Tan
  • สมพร สุทัศนีย์
  • สุพิมพ์ ศรีพันธ์วรสกุล

Keywords:

การจูงใจในการศึกษา, ภาษาอังกฤษ, การศึกษาและการสอน, กัมพูชา, การวิเคราะห์ตัวประกอบเชิงยืนยัน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนามาตรวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในราชอาณาจักรกัมพูชาตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างและสร้างปกติวิสัยของมาตรวัดกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย (เกรด 10 ถึง 12) ที่กำลังศึกษาในโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาจังหวัดกระแจะราชอาณาจักรกัมพูชาปีการศึกษา 2012-2013 จำนวน 1,619 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอนเครื่องมือการวิจัยเป็นมาตรวัดแรงจูงใจในการเรียนวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และตรวจสอบความตรงเชิงโครงสร้างของมาตรวัดด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอันดับสองโดยใช้โปรแกรม LISREL 8.80          ผลการวิจัยปรากฏว่า          1. มาตรวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายประกอบด้วย 4องค์ประกอบได้แก่ความคิดที่ส่งเสริมพฤติกรรมที่ส่งเสริมความคิดที่ขัดขวางและพฤติกรรมที่ขัดขวางมาตรวัดทั้งฉบับมีค่าความเที่ยงเท่ากับ.94          2. มาตรวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีความตรงเชิงโครงสร้างจากการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันอยู่ในเกณฑ์ดีโดยพิจารณาจากค่าสถิติ chi-square=35.17, p=.28, df=27, GFI =.99, AGFI=.97, CFI=1.00, SRMR=.03 และ RMSEA=.02          3. ปกติวิสัยมาตรวัดแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจำแนกเป็น 3ระดับได้แก่ผู้ที่มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษระดับสูงมีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 77.01 ขึ้นไปผู้ที่มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษระดับปานกลางมีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 23.01 ถึง 77.00 ผู้ที่มีแรงจูงใจในการเรียนภาษาอังกฤษระดับต่ำมีตำแหน่งเปอร์เซ็นไทล์ตั้งแต่ 23.00 ลงไป             The purposes of this study were: 1) to construct an English learning motivation scale for upper secondaryschool students; 2) to verify the construct validity of the scale; and 3) to derive norms for the scale.The sample consisted of 1,619 upper-secondary school students (academic year 2012-2013) residing underKratie Province, the Kingdom of Cambodia. Descriptive statistics and scale quality measures were obtainedby means of SPSS. The validity and reliability of the scale was further tested by means of a second orderconfirmatory factor analysis using LISREL 8.80.          The research findings were:          1. The English learning motivation scale consisted of 4 components; adaptive cognition, adaptivebehavior, maladaptive cognition, and maladaptive behavior. The total scale reliability (Cronbach’s aipha)was .94.          2. The construct validity of the English learning motivation scale was demonstrated by the fitmeasures resulting from a confirmatory factor analysis: chi-square=35.17; p=.28, df=27, GFI=.99, AGFI=.97,CFI=1.00, SRMR=.03 and RMSEA=.02.          3. The norms for the English learning motivation scale for upper secondary school students wereconstructed as follows: a student with a percentile rank at 77.01 or higher was deemed to have a high level ofEnglish learning motivation; a percentile rank from 23.01 to 77.00 indicated an average of motivation level,and a percentile rank at 23.00 or lower was indicative of a low level of English learning motivation.

Downloads